เครื่องดนตรีประเภทประกอบจังหวะ
เครื่องดนตรีประกอบจังหวะมีความสำคัญมากเพราะดนตรีพื้นบ้านบ่งบอกถึงความหนักแน่น
ความรื่นเริง
จึงต้องอาศัยเครื่องประกอบจังหวะเพื่อให้เสียงกระชับและดังจึงหาเครื่องประกอบจังหวะ
มาประกอบหลายชนิด ดังต่อไปนี้
1. เครื่องโลหะ เป็นเครื่องประกอบจังหวะที่ทำด้วยโลหะมีหลายชนิด
คือ
1.1 ฉิ่ง ชาวบ้านเรียก
สิ่งขนาดและรูปร่างคล้ายกับฉิ่งที่ใช้กันอยู่ทั่วไป
แต่บางกว่าฉิ่งมาตราฐานของไทย จึงมีเสียงต่ำและกังวาลน้อยกว่า
1.2 ฉาบกลาง ชาวบ้านเรียก สาบ มีขนาดใหญ่กว่าฉาบกรอเล็กน้อย
1.3 ฉาบใหญ่ ชาวบ้านเรียก แส่ง
มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำพวกฉาบด้วยกัน เนื่องจากขนาดของมันจึงทำให้มีน้ำหนักมาก
ความคล่องตัวมีน้อย
มักใช้ประกอบจังหวะกับวงกลองหลาย ๆ ใบ หรือกลองขนาดใหญ่เท่านั้น
1.4 ฆ้อง ลักษณะคล้ายกับฆ้องไทยทั่วไป
2. เครื่องไม้ หมายถึงเครื่องประกอบจังหวะที่ทำด้วยไม้
ทำให้เกิดเสียงด้วยการใช้ไม้กระทบกันเช่นเดียวกับกรับ ที่ชาวบ้านเรียกว่า
หมากกับแก๊บ
หรือก๊อบแก๊บ หรือกรับคู่ เป็นกรับพื้นเมืองอีสานที่ทำด้วยไม้ธรรมดา
2 ชิ้น หรือจักเป็นช่องฟันใช้ครูด หรือกรีดเป็นจังหวะ
3. เครื่องหนัง หมายถึง
เครื่องจังหวะที่ขึงด้วยหนัง ได้แก่ กลอง รำมะนาพื้นเมือง
เป็นกลองก้นเปิด ลักษณะคล้ายรำมะนาลำตัด ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง
ขนาดใหญ่กว่ารำมะนาลำตัดเล็กน้อย แต่เนื้อไม้หนากว่าจึงทำให้มีน้ำหนักมากกว่า
ใช้หนังขึงหน้าเดียว อีกหน้าเปิดโล่ง
ขึงขอบหน้ากลองให้ตึงด้วยริ้วหนัง
รำมะนามีระดับเสียงทุ้มต่ำ
ใช้ประกอบวงกลองยาวเพื่อเน้นจังหวะหนักของกลองยาวให้แจ่มชัดและน่าฟังยิ่งขึ้น
การประสมวงดนตรีพื้นบ้านอีสานเหนือ
อ้างอิงจาก http://student.nu.ac.th/thaimusicclub/