นาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานใต้
การจเรียง
จเรียงในภาษาเขมรเป็นคำกิริยา แปลว่า ขับร้อง ถ้าเป็นคำนามใช้คำว่าจำเรียง
การเล่นจเรียงมีลักษณะคล้ายคลึงกับการเล่นหมอลำหรือการเล่นเพลงโคราช
จเรียงอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภทตามลักษณะชิ่อของจเรียงคือ จเรียงที่มีชื่อตามชื่อของเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประสานเสียง
จเรียงที่มีชื่อตามลักษณะของเพลงที่ใช้ขับร้อง
และจเรียงที่มีชื่อเรียกตามลักษณะงานประเพณี จเรียงแต่ละประเภทแบ่งออกได้ดังนี้
1.
จเรียงที่มีชื่อเรียกตามเครื่องดนตรี
1.1
จเรียงตรัว จเรียงที่ใช้ซอประกอบ
1.2
จเรียงจเปย จเรียงที่ใช้กระจับปี่ประกอบ
1.3
จเรียงจรวง
จเรียงที่ใช้ปี่จรวงประกอบแต่บางท่านก็ว่าใช้ปี่อังโกล-ปี่เขาควายประกอบ
2. จเรียงที่เรียกชื่อตามลักษณะของเพลง
2.1
จเรียงกันตรบไก
เป็นการการขับร้องคนเดียวหรือเป็นการโต้ตอบของหมอจเรียงชาย-หญิง
ไม่ใช้เครื่องดนตรีประกอบ
2.2
จเรียงนอระแกว เป็นการร้องโต้ตอบระหว่างชาย หญิง มีพ่อเพลง
แม่เพลงและลูกคู่ บทร้องจบด้วย นอระแกว
2.3
จเรียงปังนา เป็นการขับร้องคล้ายกับจเรียงนอระแกว
แต่มีจังหวะเร็วกว่า มีสร้อยแทรกและจบด้วย ปังนา
2.4
จเรียงไปยอังโกง เป็นการเกี้ยวพาราสี ใช้ปี่อ้อประกอบ
2.5
จเรียงอาไย เป็นการเล่นเบ็ดเตล็ดอย่างหนึ่ง ประกอบการเล่นมโหรี
โดยมากเป็นการร้องเกี้ยวพาราสี
2.6
จเรียงเบริน เป็นการขับร้องโต้ตอบระหว่างชาย-หญิง โดยใช้แคนเป่า
ประสานเสียงอย่างเดียวกับหมอลำ
3.
จเรียงที่มีชื่อเรียกตามงานประเพณี
3.1
จเรียงตรด เป็นจเรียงในเทศกาลตรุษสงกรานต์ เพื่อขอรับบริจาคจตุปัจจัยจากครอบครัวต่าง
ๆ แล้วนำไปถวายวัด
3.2
จเรียงซันตูจ (จเรียงตกเบ็ด) เป็นการขับร้องในงานเทศกาลต่ง ๆ
ของพวกคนหนุ่ม เพื่อเกี่ยวสาวโดยใช้คันเบ็ดที่มีเหยื่อเป็นผลไม้ หรือขนมต่าง ๆ
เป็นเหยื่อล่อสาว หากสาวคนใดรับขนมนั้นก็แสดงว่ารับรักชายที่หย่อนเบ็ดลงมา
เรือมลูดอันเร (
รำกระทบสาก)
เรือมอันเรเป็นศิลปะทางด้านดนตรีนาฏศิลป์ที่มีชื่อเสียงของชาวสุรินทร์
ซึ่งเป็นแหล่งกลางทางดนตรีนาฏศิลป์ในแถบอีสานใต้
ในงานแสดงของช้างประจำปีของจังหวัดสุรินทร์ จะต้องมีการเรือมลูดอันเร
ซึ่งเป็นศิลปะของท้องถิ่นให้ผู้ที่ไปเที่ยวชมได้ชมกัน
โอกาสที่แสดง
แต่เดิมการเล่นเรือมลูดอันเรเล่นกันเฉพาะในเดือน 5 หรือแคแจตรเท่านั้น
โดยหนุ่มสาวจะมาร่วมกันเล่นเรือมลูดอันเร เพื่อความสนุกสนานรื่นเริงประจำปี
โดยเล่นกันที่ใต้ร่มมะพร้าวที่ลานหน้าบ้าน แต่ปัจจุบันได้มีการนำไปเล่นในงานสำคัญ
ๆ ที่ออกหน้าออกตา เช่น งานช้างประจำจังหวัดสุรินทร์
ลักษณะการเล่น
หนุ่มสาวจะนำสากมา 2 คู่
แล้ววางเป็นคู่ไขวกันมีคนจับปลายสาก 2 คน
ซึ่งจะเป็นผู้กระทบสากไปตามจังหวะเพลง ผู้รำคือ ฝ่ายหญิงและฝ่ายชายจะรำเป็นคู่ ๆ
เครื่องดนตรี
1. สากไม้ทำด้วยไม้แก่นกลม 2 คู่
2. ปี่อ้อ 1 เลา ( ปัจจุบันนิยมใช้สไลแทน)
3. ซอตรัวเอก (ซออู้กลาง) 1 คัด
4. กรับ ฉิ่ง ประกอบจังหวะ และมีการขับร้องประกอบเข้าไปกับการบรรเลงดนตรีด้วย
กะโน้บติงต็อง ( ระบำตั๊กแตนตำข้าว
)
กะโน้บติงต็อง เป็นภาษพื้นเมืองของชางอีสาน แปลว่า ตั๊กแตนตำข้าว
ระบำตั๊กแตนตำข้าวนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในแถบอีสานใต้
แหล่งกำเนิดกะโน้บติงต็องคือ จังหวัดสุรินทร์
ซึ่งเป็นศูนย์กลางของดนตรีและนาฏศิลป์ของแถบอีสานใต้ ระบำตั๊กแตนเป็นการรำที่สนุกสนานเร้าอารมณ์
การเต้นโยกไปโยกมาเป็นการเลียนแบบตั๊กแตนตำข้าว
การเต้นรำกะโน้บติงต็องมีการรำเป็นหมู่
ลักษณะการเล่น
ผู้เล่นจะแบ่งเป็นฝ่ายชาย ฝ่ายหญิง
สมมุติเป็นตั๊กแตนตัวผู้และตั๊กแตนตัวเมีย เสื้อกางเกงเป็นชุดติดกัน สำหรับตั๊กแตนตัวเมีญจะมีกระโปรงสวมทับไปอีกชั้น
ระบำตั๊กแตนจะรำเป็นคู่ ๆ มีท่ารำสลับเปลี่ยนกันไป
เครื่องดนตรี
1. กลองกันตรึม 2 ลูก ( อาจใช้กลองทัดหรือตะโพนแทนก็ได้
)
2. ปี่สไล 1 เลา
3. ซอตนัวเอก 1 คัน ( ซออู้ขนาดกลาง )
4. เครื่องกำกับจังหวะ คือ ฉิ่ง กรับ
ลิเกอีสานใต้
ลิเกอีสานใต้มีอยู่น้อยมาก เพราะไม่ใคร่ได้รับความนิยม
อีกประการหนึ่งผู้เล่นเล่นยาก ไม่มีใครถนัด
ลิเกอีสานใต้จะใช้บทร้องและบทเจรจาด้วยภาษาเขมรสูง (
ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครสืบทอดทำให้การเล่นอย่างนี้ มีแต่จะสูญไปตามการเวลาและตามความเจริญสมัยใหม่
)
ลักษณะการเล่น
ดำเนินเรื่องคล้ายกับลิเกของไทย คือ
ก่อนการแสดงจะมีการขับร้องรำลึกถึงครูบาอาจารย์
เทวดาอารักษ์ต่าง ๆ ต่อมาก็มีการปล่อยลิงออกโรง คือ
คนที่แสดงตัวเป็นลิงออกมาเต้น ต่อมาก็มีรำเบิกโรงก่อนจะมีการแสดงเป็นเรื่องเป็นราว
การแสดงก็มีทั้งบทร้องและบทเจรจา
เครื่องดนตรี
1. ปี่สไลชนิดใหญ่ที่สุด
2. กลองรำมะนา 2 ใบ
3. ซออู้ 1 คัน
อาไย
อาไยเป็นการเล่นเบ็ดเตร็ดอย่างหนึ่งของชาวชนบทแถบอีสานใต้
การละเล่นแบบนี้สืบทราบได้ว่ารับมาจากกัมพูชา
เพราะแต่เดิมทีชาวไทยและกัมพูชามีสัมพันธไมตรีกันดี ชาวไทยแถบสุรินทร์ บุรีรัมย์
ศรีสะเกษ ได้ไปเที่ยวค้าขายกับชาวกัมพูชา และได้รับการละเล่นมา
ลักษณะการเล่น
การเล่นอาไย มีลักษณะการเล่นแบบลำตัดและอีแซวของภาคกลาง เป็นบทโต้ตอบที่ต้องใช้ปฏิภาณระหว่างชชายหนุ่มกับหญิงสาว
บทที่ร้องเป็นบทปฏิพากย์ในเชิงเกี้ยวพาราสี
บรรดาหนุ่มสาวนิยมเล่นเมื่อมีงานประเพณีต่าง ๆ
เครื่องดนตรี
1. ปี่สไล 1 เลา
2. ซอตรัวเอก 1 คัน
3. กลองกันตรึม 2 ลูก
4. ขลุ่ย 1 เลา
5. เครื่องกำกับจังหวะ คือ กรับ ฉิ่ง
เรือมตรษ (
รำตรุษสงกรานต์ )
การรำตรมเป็นการละเล่นพื้นบ้านอีสานใต้ ที่มีการเล่นกันเป็นพื้นทุก ๆ
ปีโดยเฉพาะในวันตรุษสงกรานต์
การรำตรดไม่สามารถสืบสาวประวัติได้ว่าเริ่มกันมาตั้งแต่เมื่อไร การเล่นนี้มีการสืบทอดกันมาแต่โบราณ
การรำตรดเพื่อความสนุกสนานแล้วยังถือว่าได้บุญกุศลด้วย
เพราะจะมีการรำไปทุกบ้านทุกหลังคาเรือน
เจ้าของบ้านจะนำจัตุปัจจัยเครื่องไทยทานต่าง ๆ มอบให้แก่หัวหน้าผู้รำตรด
เพื่อจะได้นำไปมอบให้แก่วัดด้วย
ลักษณะการเล่น
ผู้เป็นหัวหน้าหรือประธานในการเล่นรำตรดจะรวบรวมสมาชิกในหมู่บ้าน
ตั้งเป็นวงรำตรดขึ้นและพาลูกน้องไปรำที่ลานหน้าบ้านไปทั่ว ๆ จนครบทุกหลังคาเรือน
เครื่องดนตรี
1. กลองกันตรึม 2 ลูก
2. แคน
3. ขลุ่ย
4. เครื่องกำกับจังหวะ อาจมีกรับหรือคันขัวร
โจลมาม็วด (
การทรงเจ้าเข้าผี )
โจลมาม็วดเป็นพิธีกรรมในการทรงเจ้าเข้าผี เป็นความเชื่อมาแต่โบราณ
ที่ว่าผู้ใดเป็นไข้ได้ป่วยไม่สบายใจด้วยประการใดประการหนึ่งก็ตาม
เป็นเพราะเจ้าที่เจ้าทาง ผีสางเทวดาบันดาลให้เป็นไป วิธีปัดรังควานได้นั้นต้องใช้วิธีโจลมาม็วด
โดยมีคนเข้าทรงเรียกว่า มาม็วด
เครื่องดนตรี
1. กลองกันตรึม 2 ลูก อาจใช้ตะโพนแทนก็ได้
2. ปี่อ้อ 1 เลา อาจใช้ปี่สไลแทนก็ได้
3. ซอตรัวเอก 1 คัน
จากที่เราได้กล่าวถึงวัฒนธรรมและการละเล่น
ทั้งภาคอีสานเหนือและภาคอีสานใต้ไปแล้วนั้น
ในภาคอีสานนั้นยังมีอีกกลุ่มวัฒนธรรมหนึ่งที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง
อ้างอิงจาก http://student.nu.ac.th/thaimusicclub/