เครื่องสี
ซอ ได้แก่ ซออู้ , ซอด้วง , ซอสามสาย , ซอสามสายหลีบ , ซอกันตรึม
ซอ เป็น เครื่องดนตรีไทย ชนิดหนึ่งจำพวก เครื่องสาย ทำให้เกิดเสียงโดยการใช้คันชักสีเข้ากับสายที่ขึงเอาไว้
ส่วนประกอบ
ประเภท
ซอด้วง เป็น ซอ สองสาย มีเสียงแหลม ก้องกังวาน
คันทวนยาวประมาณ 72 ซม
คันชักยาวประมาณ 68 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 120 150 เส้น กะโหลกของ ซอด้วงนั้น แต่เดิมใช้กระบอก ไม้ไผ่ มาทำ
ปากกระบอกของซอด้วงกว้างประมาณ 7 ซม ตัวกระบอกยาวประมาณ 13
ซม กะโหลกของซอด้วงนี้ ในปัจจุบันใช้ไม้จริง หรือ งาช้าง ทำก็ได้
แต่ที่นิยมว่าเสียงดีนั้น กะโหลกซอด้วงต้องทำด้วยไม้ ลำเจียก
ส่วนหน้าซอนิยมใช้หนัง งูเหลือม ขึง
เพราะทำให้เกิดเสียงแก้วเกิดความไพเราะอย่างยิ่ง ลักษณะของซอด้วง
มีรูปร่างเหมือนกับซอของจีนที่เรียกว่า ฮู ฉิน (Huchin) ทุกอย่าง เหตุที่เรียกว่า ซอด้วง
ก็เพราะมีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ เพราะตัวด้วงดักสัตว์
ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่เหมือนกีน จึงได้เรียกชื่อไปตามลักษณะนั้นนั่นเอง
สายซอด้วงนั้น มีเพียงสองสายและมีเสียงอยู่ สองเสียง
คือสายเอกจะเป็นเสียง "เร" ส่วนสายทุ้มจะเป็นเสียง "ซอล"
โดยใช้สายไหมฟั่นหรือว่าสายเอ็นก็ได้
ซอด้วงใช้ใน วงเครื่องสาย วงมโหรี
โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำวงและเป็นหลักในการดำเนินทำนอง
ภาพซอด้วง
ซออู้ เป็น ซอ สองสาย ตัวกะโหลกทำด้วย กะลามะพร้าว
โดยตัดปาดกะลาออกเสียด้านหนึ่ง และใช้หนังลูก วัว ขึงขึ้นหน้าซอ กว้างประมาณ 13 14 ซม
เจาะกะโหลกให้ทะลุตรงกลาง เพื่อใส่คันทวนที่ทำด้วยไม้จริง ผ่านกะโหลกลงไป
ออกทะลุรูตอนล่างใกล้กะโหลก คันทวนซออู้นี้ ยาวประมาณ 79 ซม
ใช้สายซอสองสายผูกปลายทวนใต้กะโหลก แล้วพาดผ่านหน้าซอ ขึ้นไปผูกไว้กับ
ลูกบิดสองอัน ลูกบิดซออู้นี้ยาวประมาณ 17 18 ซม
โดยเจาะรูคันทวนด้านบน แล้วสอดลูกบิดให้ทะลุผ่านคันทวนออกมา
และใช้เชือกผูกรั้งกับทวนตรงกลางเป็นรัดอก เพื่อให้สายซอตึง
และสำหรับเป็นที่กดสายใต้รัดอกเวลาสี ส่วนคันสีของซออู้นั้นทำด้วย ไม้จริงยาวประมาณ
70 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 160 - 200 เส้น
ตรงหน้าซอใช้ผ้าม้วนกลมๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นหมอนหนุน สายให้พ้นหน้าซอ
ด้านหลังของกะโหลกซอ แกะสลักเป็นรูปลวดลายสวยงาม
และเป็นช่องทางให้เสียงออกด้านนี้ด้วย
ซออู้มีรูปร่างคล้ายๆกับซอของจีนที่เรียกว่า ฮู ฮู้ ( Hu-hu ) เหตุที่เรียกว่าซออู้ก็เพราะ
เรียกตามเสียงที่ได้ยินนั่นเอง ซอด้วง และซออู้
ได้เข้ามามีบทบาทในวงดนตรีเครื่องสายตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 4 นี่เอง
โดยได้ดัดแปลงมาจาก วงกลองแขกเครื่องใหญ่ ซึ่งมีเครื่องดนตรีที่ทำลำนำประกอบด้วย
ซอด้วง ซออู้ จะเข้ และ ปี่อ้อ ต่อมาได้เอา กลองแขก ปี่อ้อ ออก และเอา ทับ กับ
รำมะนา และ ขลุ่ย เข้ามาแทน เรียกวงดนตรีชนิดนี้ว่า วงมโหรีเครื่องสาย
มีคนเล่นทั้งหมด 6 คน รวมทั้ง ฉิ่ง ด้ว
จนมาถึงยุคต้นของ กรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 สืบเนื่องมาจากที่พระองค์ท่านมีอัจฉริยภาพในทางศิลปะด้านต่างๆ
เช่น ทรงแกะสลักบานประตูพระวิหาร วัดสุทัศน์เทพวราราม ด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง
อีกประการหนึ่ง พระองค์ท่านยังโปรดทรงซอสามสายเป็นอย่างยิ่ง
จึงทำให้พระองค์ท่านได้ประดิษฐ์คิดสร้างซอสามสายได้ด้วยความประณีต งดงาม
และเป็นแบบอย่างมาจนถึงปัจจุบันนี้
ส่วนต่างๆของซอสามสายมีชื่อเรียกดังนี้
เสียงของซอสามสาย
ภาพซอ 3 สาย
สะล้อ
สะล้อ เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมือง ล้านนา ชนิดหนึ่ง เป็นประเภทเครื่องสีซึ่งมีทั้ง 2 สายและ 3
สาย คันชักสำหรับสีจะอยู่ข้างนอกเหมือนคันชัก ซอสามสาย
สะล้อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทร้อ หรือ ซะล้อ มีรูปร่างคล้าย
ซออู้ ของภาคกลาง ใช้ไม้แผ่นบาง ๆ ปิดปากกะลาทำหลักที่หัวสำหรับพาดทองเหลือง
ด้านหลังกะโหลกเจาะเป็นรูปลวดลายต่าง ๆ เช่น รูป หนุมาน รูปหัวใจ
ส่วนด้านล่างของกะโหลก เจาะทะลุลง ข้างล่าง เพื่อสอดคันทวนที่ทำด้วย ไม้ชิงชัน
ยาวประมาณ 64 ซม ตรงกลางคันทวนมีรัดอกทำด้วย หวาย
ปลายคันทวนด้านบนเจาะรูสำหรับสอดลูกบิด ซึ่งมี 2 หรือ 3
อัน สำหรับขึงสายซอ จากปลายลูกบิดลงมาถึงด้านกลางของกะโหลกมีหย่องสำหรับ
หนุนสายสะล้อเพื่อให้เกิดเสียงเวลาสี คันชักสะล้อทำด้วยไม้ดัดเป็นรูปโค้ง
ขึงด้วยหางม้าหรือพลาสติก เวลาสีใช้ยางสนถูทำให้เกิดเสียงได้
สะล้อใช้บรรเลงประกอบการแสดงหรือบรรเลงร่วมกับบทร้องและทำนองเพลงได้ทุกชนิดเช่น
เข้ากับ ปี่ ในวงช่างซอ เข้ากับ ซึง ในวงพื้นเมือง หรือใช้เดี่ยวคลอร้องก็ได้
ภาพสะล้อ
รือบับ
รือบับ ( อังกฤษ : Rebab ; อาหรับ
: ?????? หรือ ???? ?) เป็นที่เข้าใจกันว่าเป็น
เครื่องดนตรี ที่มีการละเล่นกันตั้งแต่ในบริเวณสามจังหวัดชายแดนใต้ มาเลเซีย
สุมาตรา เหนือของ ประเทศอินโดนีเซีย และ ชวา ใช้ในการแสดง เมาะโย่ง หรือมะโย่ง
ซึ่งการละเล่นนี้ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเป็นศิลปะละครรำในวัฒนธรรมหลวงหรือเป็นวัฒนธรรมราษฎร์ของ
คนถิ่นมลายู แต่ที่ ปัตตานี ปรากฏหลักฐานการละเล่นนี้ที่หนังสือ ฮิกายัดปัตตานีหรือพงศาวดารปัตตานี
ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 รือบับมีลักษณะโดยรวมคล้ายกับ
ซอสามสาย ของภาคกลาง
ภาพรือบับ
อ้างอิงจาก http://th.wikipedia.org/