เครื่องดนตรีประเภทดีด

เครื่องดนตรีประเภทดีด

พิณพื้นเมือง


          พิณพื้นเมืองมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นหลายชื่อ เช่น พิณ ซุง หมากจับปี่ หมากตับเต่ง หมากตดโต่ง ใช้เล่นกันอยู่โดยทั่วไปในภาคอีสาน ปัจจุบันพิณยังใช้เล่นกันในท้องถิ่นที่มีวัฒนธรรมดั้งเดิม เช่นหมู่บ้านที่มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมน้อย

รูปร่างลักษณะ
          พิณพื้นเมืองอีสานมีลักษณะคล้ายกับพิณทั่วไป จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทมีสายใช้ดีด เทียบได้กับแมนโดลิน กีตาร์ ของชาวตะวันตกเสียงพิณเกิดจากการดีดสายที่ขึงตึง เพื่อให้เกิดการสั้นสะเทือนอยู่เหนือส่วนที่กลวงเป็นโพรง
พิณพื้นเมืองทำด้วยไม้เนื้ออ่อนหรือแข็งปานกลาง ไม้เนื้อแข็งทำให้มีน้ำหนักมาก ส่วนที่กลวงแตกง่ายและเสียงไม่ค่อยดัง วัตถุที่ใช้ดีดทำด้วยเขาสัตว์ เหลาให้แบนบาง

วิธีบรรเลง
          พิณเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายใช้ดีด ใช้บรรเลงได้ทั้งขณะนั่ง ยืน หรือเดิน หากประสงค์จะยืนหรือเดินบรรเลง ก็ต้องใช้สายผ้าหรือหนังผูกปสายลำตัวและปลายคันทวน
แล้วเอาสายคล้องคอไวัให้ตำแหน่งของพิณอยู่ในระดับราบ มือขวาถือที่ดีดไว้ด้วยนิ้วชี้และหัวแม่มือ การดีดพิณไม่นิยมดีดรัวเหมือนดีดแมนโดลินส่วนมากดีดหนักเบาสลับกันไปเป็นจังหวะ ถ้าบรรเลงจังหวะช้าหรือปานกลางมักนิยมดีดลงทางเดียวจังหวะเร็วมักดีดทั้งขึ้นและลง สายพิณที่ใช้เป็นหลักในการดำเนินทำนองมีสองสาย คือ สายเอกและสายทุ้ม

โอกาสที่ใช้บรรเลง พิณใช้บรรเลงในโอกาสต่อไปนี้
          1. ใช้เป็นเพื่อนแก้เหงา ชาวบ้านที่มีความชำนาญมักหยิบพิณมาดีดในยามว่าง
          2. ใช้เป็นนันทนาการระหว่างเพื่อนฝูง ตามชนบทที่ห่างไกล นันทนาการของชาวบ้านมักอาศัยดนตรีพื้นเมืองเป็นพื้น เพราะเป็นของที่มีราคาถูกหรือไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างไร
          3. ใช้คบงันหรือฉลองงาน ไม่ว่าชาวบ้านรวมกลู่กันที่ใด ดนตรีมักเข้าไปมีบทบาทเสมอ เสียงดนตรีพื้นเมืองมีเสียงไม่ค่อยดังนัก จะใช้มุมใดมุมหนึ่งฟังดนตรีให้สนุกสนานก็ย่อมทำได้

หุนหรือหึน


          เป็นเครื่องดนตรีทำด้วยไม้ไผ่ทางภาคกลางเรียกว่า จ้องหน่องกลุ่มวัฒนธรรมกันตรึมเรียกว่า อังกุย เวลาดีดต้องใช้ปากคาบไว้ที่กระพุ้งแก้ม ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเครื่องขยายเสียง นิยมเล่นเดี่ยวมากกว่าบรรเลงกับดนตรีชนิดอื่น ชาวผู้ไทจะเรียกหุนหรือหึนว่า โกย นิยมเล่นในกลุ่มผู้หญิงชาวผู้ไทสมัย

พิณไห หรือไหซอง

ไหซอง(Hai song) - narissara44472
          เป็นพิณที่ทำมาจากไหที่ใส่ปลาร้าของชาวอีสาน นิยมทำเป็นชุด ๆ ละ 3 ใบ มีขนาดลดหลั่นกันไป ตรงปากไหขึงด้วยยางหนังสติ๊ก หรือยางในรถจักรยานแล้งผูกขึงให้เสียงประสานกัน โดยทำหน้าที่คล้ายกับกีตาร์เบส ผู้เล่นจะร่ายรำประกอบไปด้วย

Related Articles

Free Joomla templates by Ltheme