วัฒนธรรมดนตรีของภาคอีสาน

สรุป

           จากการที่ได้ศึกษาดนตรีพื้นบ้านอีสาน เป็นศิลปวัฒนธรรมของชนกลุ่มต่าง ๆ โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่มและอีกกลุ่มที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ กลุ่มวัฒนธรรมดนตรีอีสานเหนือ กลุ่มวัฒนธรรมอีสานใต้ และกลุ่มวัฒนธรรมดนตรีโคราช แต่ละกลุ่มต่างก็มีเอกลักษณ์ของกลุ่มชนในด้านเครื่องดนตรี การประสมวงดนตรีพื้นบ้านที่แตกต่างกัน
ในท้องถิ่นนั้น ๆ แม้จะมีการผสมผสานเข้าด้วยกัน ก็ด้วยอิทธิพลของกลุ่มวัฒนธรรมดนตรีที่มีความเจริญและมีการพัฒนามากกว่า แต่ก็ถือว่าเป็นวัฒนธรรมดนตรีของภาคอีสานที่ยังคงรักษาไว้และยังคงลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านอีสานไว้
ดังนี้

ลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านอีสาน
           1. มีลักษณะเด่นเป็นของตนเองอย่างเด่นชัดประกอบด้วยดนตรี 2 กลุ่มวัฒนธรรม คือ กลุ่มอีสานเหนือ กลุ่มอีสานใต้
           2. มีการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
           3. มีเครื่องดนตรีที่ทันสมัยออกแบบเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย
           4. มีการใช้เสียงประสาน เช่น เสียงแคน พิณ ซอบั้งไม้ไผ่
           5. การใช้ปฏิภาณครามรู้ตามความสามารถของผู้บรรเลง
           6. การใช้เสียงประสานประเภทวลียืนพื้นประสานกับทำนองหลัก
           7. มีความผูกพันธ์กับวิถีชีวิตรักษาอาการเจ็บป่วย
           8. มีความผสมกลมกลืนระหว่างคำสอนทางพุทธศาสนา ภาษาวรรณคดีดนตรี
           9. สามารถยืนหยัดต้านทานคลื่นวัฒนธรรมตะวันตก
         10. ทำนองของหมอลำสามารถเกิดจากเสียงต่ำในบทกลอนได้
         11. การบรรเลงดนตรีจะมีการย้ายเปลี่ยนบันไดเสียงได้
         12. ทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรี
         13. เสียงเครื่องดนตรีเกี่ยวกับมาตราเสียง เช่น แคนมี 7 เสียง
อย่างเดียวกับมาตราเสียงไดอาโทนิคของสากล

 

อ้างอิงจาก http://student.nu.ac.th/thaimusicclub/

Related Articles

Free Joomla templates by Ltheme