ดนตรีพื้นบ้าน เป็นการสร้างบทเพลง การขับร้อง การเล่นดนตรีของผู้คนในท้องถิ่นซึ่ง มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานก่อนสมัยสุโขทัย โดยเชื่อกันว่าดนตรีพื้นบ้าน เกิดขึ้นจากการที่คนเราสามารถรับรู้ และได้ยินเสียงที่เกิดขึ้นต่าง ๆ จากธรรมชาติ เช่น เสียงลมพัด เสียงฟ้าร้อง เสียงร้องของสัตว์ต่าง ๆ แล้วคนเราก็นำเสียงที่ได้รับรู้มาประดิษฐ์ดัดแปลงให้เป็นเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ ได้แก่ เครื่องดีด สี ตี เป่า
ลักษณะดนตรีพื้นบ้าน มีดังนี้
1. เป็นการบรรเลงที่ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน และมีจำนวนน้อยชิ้น
2. จังหวะทำนองเป็นแบบง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน
3. เนื้อร้องเป็นภาษาพื้นบ้าน ไม่ยาวมาก
4. ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษรุ่นต่อรุ่น
ดนตรีพื้นบ้านแต่ละท้องถิ่นจะมีลักษณะเฉพาะ มีความแตกต่างกันไป ตามสภาพวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของคนในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งสามารถแบ่งออกตามภูมิภาคต่าง ๆ ดังนี้
1. ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ
2. ดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน
3. ดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง
4. ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้
อ้างอิงจาก โครงการ
ทรูปลูกปัญญา