เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
เข้าใจ หมายถึง ปัญญาที่เข้าใจความเป็นทั้งหมดของความรุนแรง ทั้งประวัติศาสตร์ สาเหตุ อาการ ความสำเร็จ และความล้มเหลวของการแก้ปัญหาในอดีต และความเป็นไปในอนาคต เรียกว่า เข้าใจอดีต ปัจจุบัน อนาคต
ความไม่รู้ การรู้เป็นส่วน ๆ รู้อย่างลวก ๆ รีบ ๆ แบบตาบอดคลำช้าง นอกจากแก้ปัญหาไม่ได้แล้ว ยังกลับทำให้ปัญหาลุกลามบานปลายมากยิ่งขึ้น
เข้าถึง หมายถึง เข้าถึงความจริง ไม่ใช่รู้เพียงผิวเผิน เข้าถึงความรู้สึกนึกคิดในความเป็นมนุษย์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้ องรวมทั้งของตัวเองด้วย ถ้าไม่มีสติเราจะไม่สามารถเข้าถึงความจริงได้ ถ้าไม่เข้าถึงความจริงก็แก้ไขปัญหาไม่ได้
พัฒนา หมายถึง พฤติกรรม การปฏิบัติ การแก้ปัญหา การพัฒนาที่ถูกต้องหรือ สัมมาพัฒนา ต้องอยู่บนฐานของความเห็นชอบและความดำริชอบหรือปัญญา อันได้แก่ ความเข้าใจ - เข้าถึง ดังกล่าวข้างต้น ถ้าปราศจากความเข้าใจ เข้าถึง การพัฒนาก็จะผิดพลาดกลายเป็นมิจฉาพัฒนา แก้ปัญหาไม่ได้ ความรุนแรงเพิ่มขึ้น
ปัญหาความรุนแรงที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องที่สลับซ้อนยากแก่การเข้าใจ แต่ถ้าไม่เข้าใจก็จะแก้ปัญหาไม่ได้ และไฟแห่งความรุนแรงจะลามเข้าถึงพระนครและไหม้ทั่วประเทศก็ได้ จึงขอให้คนไทยทุกหมู่เหล่าพยายาม เข้าใจและเข้าถึง ตามกระแสพระราชดำรัส และช่วยกันดับไฟใต้
บทความเรื่อง สามเหลี่ยมดับไฟใต้ นี้ แบ่งเป็น 3 ภาค
ภาค 1 เป็นความพยายามที่จะเข้าใจและเข้าถึง
ภาค 2 เป็นข้อเสนอแนวทางและวิธีแก้ปัญหา
ภาค 3 การสร้างความเป็นเอกภาพในยุทธศาสตร์
ภาค 1 ความเข้าใจ เข้าถึงปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
1. อย่าให้ไฟลามเข้าถึงใจกลางพระนคร
ไฟแม้เกิดจากไม้ขีดก้านเดียวก็อาจไหม้บ้านทั้งหลังได้
เมื่อมีกองไฟที่ใดก็อย่าเติมเชื้อ อย่าไปใช้เบนซินดับไฟ เพราะจะทำให้ไฟไหม้บ้านทั้งหลัง
ไฟใต้เป็นไฟในบ้าน ท่ามกลางพายุรุนแรงในโลก ต้องช่วยกันระวัง อย่าให้ไฟในบ้านกับไฟนอกบ้านไปเชื่อมโยงกัน และเกิดไฟไหม้ทั้งประเทศ
โลกกำลังเข้าสู่ยุคความขัดแย้งและความรุนแรง การระเบิดตึกเวิลด์เทรดที่นิวยอร์ก สงครามในแอฟกานิสถาน สงครามในอิรัก การระเบิดรถไฟในประเทศสเปน การระเบิดใหญ่ที่บาหลี สงครามที่อาเจะ การระเบิดรถไฟใต้ดินที่ลอนดอน เหล่านี้เป็นสัญญาณว่าโลกกำลังเข้าสู่ทุรยุค
ความขัดแย้งระหว่างโลกตะวันตกกับโลกอิสลาม 1,200 ล้านคนเป็นเรื่องใหญ่ ไม่มีทีท่าว่าจะคลายลง ตรงข้ามมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงมากขึ้น และฉุดดึงให้ประเทศต่าง ๆ เข้าไปสู่วิกฤตการณ์ด้วย
ถ้าเราแก้ความรุนแรงในประเทศเราไม่ได้ นานไปจะเป็นชนวนดึงความรุนแรงเข้ามาสู่ใจกลาง พระนคร อาจทะลักมาจากชายแดนภาคใต้ หรือดึงขบวนการจิฮาดจากต่างชาติเข้ามาในประเทศ
ถ้ามีการระเบิดโน่นระเบิดนี่ในกรุงเทพฯ จะเกิดความโกลาหลปั่นป่วนและความมืดเข้าปกคลุมประเทศ คือ
ความมืดทางปัญญา เพราะพายุอารมณ์ ประเทศจะเข้าสู่ยุคมืดรุนแรงปั่นป่วนไปเป็นเวลานาน
การป้องกันไฟไหม้ประเทศไทยและเกิดยุคมืดดังกล่าว คนไทยทั้งหมดทุกภาคส่วนจะต้องมีสติ มีปัญญา
และมีความร่วมมือกันแก้ไขให้ถูกต้อง นั่นคือนำหลักการในกระแสพระราชดำรัสแห่งการ เข้าใจ เข้าถึง และ พัฒนา มาใช้ให้ถูกต้อง
2. เข้าใจประวัติศาสตร์ความเป็นมาของความขัดแย้งเรื้อรัง
การรับรู้เป็นส่วน ๆ แบบตาบอดคลำช้าง โดยไม่เห็นช้างทั้งตัว ทำให้เกิดอารมณ์ นำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งขัดแย้งอย่างรุนแรง การเห็นช้างทั้งตัวหรือการเข้าใจถึงเรื่องทั้งหมดคือ ปัญญา ปัญญานำไปสู่การพัฒนาหรือการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง
คงมีคนไทยจำนวนน้อยนิดเท่านั้นที่เข้าใจประวัติความเป็นมาทั้งห มด ก็จะมี พายุอารมณ์แห่งชาติ อันจะโหมไฟแห่งความรุนแรงให้ลุกลามมากขึ้น
มาตรการที่ 1 ในยุทธศาสตร์ดับไฟใต้ คือส่งเสริมให้คนไทยทั้งประเทศเข้าใจ และเข้าถึงความจริงทั้งหมดของประวัติศาสตร์ความเป็นมาของความขั ดแย้งเรื้อรังที่ภาคใต้
ปัตตานีเคยเป็นรัฐอิสระมาตั้งแต่กรุงสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา สืบต่อมาจากแหล่งอารยธรรมที่เรียกว่า ลังกาสุกะ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงการนับถือศาสนาจากพราหมณ์ฮินดู มาเป็นพุทธมหายาน และมาเป็นอิสลาม ปัตตานีเคยเป็นรัฐที่มีอารยธรรมสูงทั้งทางวัฒนธรรม ศาสนา และเศรษฐกิจ
บางกระแสว่าศาสนาอิสลามแพร่จากปัตตานีสู่มลายู ไม่ใช่จากมลายูสู่ปัตตานี คนปัตตานีเป็นคนมลายูโดยเชื้อชาติและพูดภาษามลายู คนมลายูปัตตานีเคยมีความภูมิใจในศักดิ์ศรีของความเป็นคนมุสลิมชั้น 1 ไม่เป็นที่ 2 รองใคร
ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กองทัพไทยได้ยกเข้าไปยึดปัตตานีมาเป็นของไทย ปืนใหญ่ที่ชื่อนางพญาตานีที่ตั้งอยู่หน้ากระทรวงกลาโหมอันไทยยึ ดมาจากปัตตานี เป็นเครื่องบอกประวัติศาสตร์ตรงนี้
ในอาณัติของราชอาณาจักรไทยปัตตานีได้ถูกแปรรูปการปกครองไปหลายอ ย่าง ตั้งแต่เป็นเมืองประเทศราช จนถึงแบ่งเป็น 7 หัวเมือง จนถึงเป็นมณฑลปัตตานี จนถึงแบ่งเป็น 3 จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
ตลอดเวลา 200 กว่าปีของปัตตานีในราชอาณาจักรไทยคือ ประวัติศาสตร์แห่งความขมขื่นของคนมลายูปัตตานี ลองนึกถึงอกเขาอกเรา แม้พม่าปกครองไทยอยู่เพียง 15 ปีหลังเสียกรุงครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2112 และไม่กี่เดือนหลังเสียกรุงครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310 และก็เพียงยึดกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น พม่าไม่ได้ปกครองทั้งประเทศ เรายังคงมีความทรงจำแห่งความขมขื่นกับพม่าจนถึงทุกวันนี้
คนไทยเชื้อสายมลายูปัตตานีไม่ใช่ แขก ที่เข้ามาอาศัยแผ่นดินไทย แต่เขาอยู่ในดินแดนของเขาที่เคยเป็นประเทศของเขา แต่ไทยไปยึดมา นโยบายของรัฐบาลไทยต่อปัตตานีส่วนใหญ่เป็นความพยายามที่จะ กลืนชาติ เช่นเดียวกับที่เคยทำกับคนภาคเหนือและภาคอีสาน ซึ่งแต่เดิมก็เป็นรัฐอิสระ การถูกกลืนชาติเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งต้องมีความขมขื่น ดิ้นรน ต่อสู้ ขัดขืน รุนแรง มากหรือน้อยแล้วแต่ภูมิหลังและกระบวนการ
คนไทยมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความทรงจำทางประวัติศาสตร์ มีความเหนียวแน่นทางวัฒนธรรม และมีวิถีชีวิตกับศาสนาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อมาเจอกับการปกครองที่รวมศูนย์ของทางราชการ ที่ไม่เข้าและไม่เคารพในความหลากหลายของวัฒนธรรมท้องถิ่น การได้รับการกดขี่ข่มเหงโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่ดีที่ถูกส่ง หรือย้ายไปอยู่จังหวัดชายแดนโดยเฉพาะตำรวจ และ การขาดความยุติธรรม ทำให้เจ็บปวด
ความขมขื่นและความเจ็บปวดอย่างเรื้อรังจากการตกอยู่ในฐานะเป็นพ ลเมืองชั้น 2 ของไทยย่อมก่อให้เกิดความทุกข์และความบีบคั้นอย่างยิ่งยวด ความบีบคั้นย่อมทำให้ทะลักไปเป็นการต่อต้านบ้าง การก่อความรุนแรงบ้าง การอยากแยกตัวเป็นอิสระบ้าง โดยมีกลุ่มและขบวนการต่าง ๆ มากบ้างน้อยบ้างตลอดยุคสมัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
3. จากล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ถึงพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
นโยบายของรัฐไทยต่อคนไทยมุสลิมในชายแดนภาคใต้ บางครั้งก็รุนแรงมาก บางครั้งก็ละมุนละม่อม
เมื่อครั้งจอมพล ป. พิบูลสงครามนั้นได้ออกพระราชบัญญัติ รัฐนิยม ที่จะเอาวัฒนธรรมไทยส่วนกลาง (ที่บัญญัติขึ้น) เข้าไปครอบงำวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างรุนแรง เช่น โดยการศึกษาและศาสนาทำให้เกิดการต่อต้านอย่างรุนแรงจนเกิดเหตุก ารณ์ ดูซงญอ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2498 ที่คนมุสลิมถูกสังหารไปประมาณ 400 คน เป็นการเพิ่มความทรงจำทางประวัติศาสตร์ของความเจ็บปวด
นโยบายที่ละมุนละม่อมมีตัวอย่างให้เห็นในพระบรมราโชบายของล้นเก ล้าฯ รัชกาลที่ 6 ในช่วงสั้น ๆ ในสมัยนายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี และสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
จะขอคัดพระบรมราโชบายของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 มาล้อมกรอบให้เห็นดังต่อไปนี้
พระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สำหรับมณฑลปัตตานี 6 กรกฏาคม 2466
ข้อหนึ่ง ระเบียบหรือวิธีปฏิบัติอย่างใดเป็นทางให้พลเมืองรู้สึกเห็นไปว่ าเป็นการเบียดเบียน กดขี่ศาสนาอิสลาม ต้องยกเลิกหรือแก้ไขเสียทันที การใดจะจัดขึ้นใหม่ต้องอย่าให้ขัดกับลัทธินิยมของอิสลาม หรือยิ่งทำให้เห็นเป็นการอุดหนุนศาสนามูฮัมหมัดได้ยิ่งดี
ข้อสอง การกะเกณฑ์อย่างใด ๆ ก็ดี การเก็บภาษีอากรหรือพลีอย่างใด ๆ ก็ดี เมื่อพิจารณาโดยส่วนรวมเทียบกัน ต้องอย่าให้ยิ่งกว่าพลเมืองในแว่นแคว้นของประเทศราชของอังกฤษ ซึ่งอยู่ใกล้เคียง ติดต่อกันนั้น ต้องเกณฑ์ต้องเสียอยู่เป็นธรรมดา เมื่อพิจารณาเทียบกันแต่เฉพาะอย่าง ต้องอย่าให้ยิ่งหย่อนกว่ากัน จนถึงเหตุเสียหายในการปกครองได้
ข้อสาม การกดขี่บีบคั้นแต่เจ้าพนักงานของรัฐบาล เนื่องแต่การใช้อำนาจในทางที่ผิดไม่เป็นธรรมก็ดี เนื่องแต่การหมิ่นลู่ดูแคลนพลเมืองชาติแขกโดยฐานที่เป็นคนต่างช าติก็ดี เนื่องแต่การหน่วงเหนี่ยวชักช้าในกิจการตามหน้าที่เป็นเหตุให้ร าษฎรเสียความสะดวกในทางหาเลี้ยงชีพก็ดี พึงต้องแก้ไขระมัดระวังมิให้มีขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องให้ผู้ทำผิดต้องรับผลตามความผิดโดยยุติธร รม ไม่ใช่สักแต่ว่าจัดการกลบเกลื่อนให้เงียบไปเสียเพื่อจะไว้หน้าส งวนศักดิ์ของข้าราชการ
ข้อสี่ กิจการใดทั้งหมดอันเจ้าพนักงานต้องบังคับแก่ราษฎร ต้องระวังอย่าให้ราษฎรต้องขัดข้องเสียเวลา เสียการในทางหาเลี้ยงชีพของเขาเกินสมควร แม้จะเป็นการจำเป็นโดยระเบียบการก็ดี เจ้าหน้าที่พึงสอดส่องแก้ไขอยู่เสมอเท่าที่สุดจะทำได้
ข้อห้า ข้าราชการที่จะแต่งตั้งออกไปประจำตำแหน่งในมณฑลปัตตานี พึงเลือกเฟ้นแต่คนที่มีนิสัยซื่อสัตย์ สุจริต สงบเสงี่ยมเยือกเย็น ไม่ใช่สักแต่ว่าส่งไปบรรจุให้เต็มตำแหน่งหรือส่งไปเป็นการลงโทษ เพราะเลว เมื่อจะส่งไปต้องสั่งสอนชี้แจงให้รู้ลักษณะทางการอันพึงประพฤติ ระมัดระวังโดยหลักที่ได้กล่าวในข้อ 1 ข้อ 3 และข้อ 4 ข้างบนนั้นแล้ว ผู้ใหญ่ในท้องที่พึงสอดส่องฝึกฝนอบรมกันต่อ ๆ ไปในคุณธรรมเหล่านั้นเนือง ๆ ไม่ใช่คอยให้พลาดพลั้งลงไปก่อนแล้วจึงว่ากล่าวลงโทษ
ข้อหก เจ้ากระทรวงทั้งหลายจะจัดวางระเบียบการอย่างใดขึ้นใหม่หรือบังค ับการอย่างใดในมณฑลปัตตานี อันเป็นทางพาดพานถึงสุขทุกข์ราษฎรก็ควรฟังความเห็นสมุหเทศาภิบา ลก่อน ถ้าสมุหเทศาภิบาลขัดข้องก็ควรพิจารณาเหตุผลแก้ไขหรือยับยั้ง ถ้าไม่เห็นด้วยว่ามีมูลขัดข้องก็ควรหารือกระทรวงมหาดไทย แม้ยังไม่ตกลงกันได้ระหว่างกระทรวง ก็พึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทขอพระราชทาน พระบรมราชวินิจฉัย
พระมหาธีรราชเจ้าทรงเป็นนักปราชญ์ นักปราชญ์ย่อมรู้ทั้งหมด คือมีปัญญา
ปัญญากับความกรุณาเป็นของคู่กัน ปัญญาทำให้กรุณา กรุณาทำให้เกิดปัญญา ปัญญากับกรุณาทำให้
แก้ปัญหาได้
มีผู้บันทึกว่าตลอดระยะที่มีการใช้พระบรมราโชบายดังกล่าว มีความสงบในชายแดนภาคใต้ จนกระทั่งเลิก
ใช้หลักรัฐประศาสนศาสตร์นี้
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีระหว่าง พ.ศ. 2523 2531
พลเอกเปรมเป็นคนใต้ เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต มีบารมี สามารถควบคุมความเป็นเอกภาพทางนโยบายมีแนวทางสันติวิธีในการแก้ ไขปัญหาดังที่เคยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเรื่องคอมมิวนิสต์มาก่อน ได้มีการจัดตั้งกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ - ทหาร 43 (พตท.43) เพื่อความเป็นเอกภาพของฝ่ายความมั่นคง และ ศอ.บต. (ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้) ที่คอยดูแลไม่ให้มีการอุ้มฆ่า สร้างความเป็นธรรม จัดการเอาข้าราชการที่ไม่ดีออกจากพื้นที่ สร้างความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนต่างวัฒนธรรม รับฟังความคิดเห็นของผู้นำท้องถิ่น นโยบายและมาตรการของรัฐบาลเปรมทำให้ความรุนแรงลดลง ขบวนการติดอาวุธลดลง ผู้ก่อความรุนแรงวางอาวุธเข้าร่วมกระบวนการสันติพัฒนาของรัฐ ผู้หลบหนีไปต่างประเทศกลับคืนมายังประเทศไทย ทำนองเดียวกับการวางอาวุธของคอมมิวนิสต์ แม้ไม่ถึงขนาดนั้น
พระบรมราโชบายของล้านเกล้าฯ ร.6 กับนโยบายรัฐบาลเปรมน่าจะเป็นบทเรียนต่อการสร้างสันติสุขใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
อย่างไรก็ตาม ความไม่คงที่ของนโยบาย การมีข้าราชการที่ไม่ดี และการขาดเอกภาพในกลไกของรัฐ ทำให้ไม่สามารถสร้างสันติสุขอย่างแท้จริงและถาวร มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจและทำอะไรมากกว่านั้น เพื่อขจัดความรุนแรงเฉพาะหน้าและสร้างสันติภาพถาวร
4. ความรุนแรงพุ่งกระฉูดในช่วง พ.ศ. 2544 48
จากตัวเลขของทางราชการ การก่อความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เริ่มสูงขึ้นเป็นกว่า 50 ราย ในปี 2544 เป็น 1,000 กว่ารายในปี 2547 และรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2548 มีความอุกอาจและโหดร้ายมากขึ้น ดังที่ทราบกันดีอยู่
คำถามคือ ทำไมความรุนแรงจึงพุ่งกระฉูดในช่วงรัฐบาลนี้ อาจมีปัจจัยหลายอย่าง เช่นมีขบวนการใหม่บ่มเพาะตัวขึ้นในพื้นที่ที่มีอุดมการณ์ทางศาส นา
แต่ที่เห็นร่วมกันเป็นส่วนมาก คือ นโยบายที่ผิดพลาดและแข็งกร้าวของรัฐบาล การให้ข้อมูลที่ผิดพลาดแก่นายกรัฐมนตรีโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาง สังกัด ทำให้รัฐบาลสั่งยุบ พตท.43 และ ศอ.บต.
เมื่อยุบองค์กรที่ตั้งมาสมัยพลเอกเปรมที่ทำหน้าที่ยับยั้งไม่ให ้มีการอุ้มฆ่าก็เกิดการอุ้มฆ่ากันมากในพื้นที่
มีผู้คำนวณอย่างคร่าว ๆ ว่า หากมีการอุ้มฆ่าไป 200 คน ก็จะมีแนวร่วมเกิดขึ้นประมาณ 20,000 คน โดยสมมุติว่าแต่ละคนที่ถูกอุ้มฆ่ามีญาติและเพื่อนพ้องที่เกิดคว ามเจ็บแค้นประมาณ 100 คน
หน่วยข่าวกรองของรัฐประเมินว่ามีแนวร่วมหลวม ๆ ประมาณ 200,000 คน มีแนวร่วมแนบแน่นประมาณ 30,000 คน บางข้อมูลว่ามีผู้เกี่ยวข้องก่อความไม่สงบประมาณ 10,000 คน เป็นแก่นแกน (hardcore) ประมาณ 2,000 คน อีก 8,000 คนอาจเปลี่ยนได้ถ้ามีความถูกต้องเป็นธรรม จำนวนเหล่านี้ไม่มีใครทราบแน่นอน แต่มากพอที่จะก่อเหตุร้ายประจำวัน มีการวางแผนและมียุทธศาสตร์การข่าวดังจะกล่าวต่อไปนี้
5. นโยบายแรง-แรง นโยบายสมานฉันท์-เบา
นี้เป็นบทสรุปจากข้อ 3 และข้อ 4 ข้างต้น จากความเป็นจริงที่ผ่านมาว่า ถ้ารัฐบาลมีนโยบายใช้ความรุนแรง ความรุนแรงจะเพิ่มขึ้น ถ้ารัฐบาลใช้นโยบายสมานฉันท์ ความรุนแรงจะลดลง ซึ่งแสดงเป็นรูปเพื่อจำได้ติดตา ตามรูปที่ 1 ข้างล่างนี้
รูปที่ 1 แสดงระดับความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แปรผันตามนโยบายของรัฐบาลว่าเป็นแนวทางสมานฉันท์หรือรุนแรง (รูปไม่ได้แสดงสัดส่วนที่แท้จริง)
อย่าเข้าใจผิดว่าถ้าใช้แนวทางสมานฉันท์ คือการยอมจำนน ไม่ทำอะไร ตรงกันข้ามแนวทางสมานฉันท์ทำให้ลดและขจัดความรุนแรงง่ายขึ้น ความเข้าใจความจริงตามประวัติศาสตร์ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่า งแนวทางกับระดับความรุนแรงจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายและย ุทธศาสตร์ดังไฟใต้
จากความเป็นจริงที่ผ่านมา ถ้ารัฐบาลมีนโยบายใช้ความรุนแรง ความรุนแรงจะเพิ่มขึ้น ถ้ารัฐบาลใช้นโยบายสมานฉันท์ ความรุนแรงจะลดลง
อย่าเข้าใจผิดว่าถ้าใช้นโยบายสมานฉันท์ คือการยอมจำนน ไม่ทำอะไร ตรงกันข้าม แนวทางสมานฉันท์ทำให้ลดและขจัดความรุนแรงง่ายขึ้น ความเข้าใจความจริงตามประวัติศาสตร์ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่า งแนวทางและระดับความรุนแรงจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายและย ุทธศาสตร์ดับไฟใต้
6. โครงสร้าง 7 ชั้นของสงครามหรือสันติภาพ
เพื่อความเข้าใจสถานการณ์และการกำหนดยุทธศาสตร์ อาจแบ่งภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงหรือสันติภาพออ กเป็น 7 ชั้น ดังนี้
1. ผู้ก่อความไม่สงบ มีจำนวนน้อย แฝงเร้น ลอบทำร้าย ก่อเหตุ
2. แนวร่วม เป็นคนในชุมชนมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวนขึ้นลง แล้วแต่นโยบายของรัฐและการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ
3. มุสลิมรักสันติ หมายถึงคนมุสลิมส่วนใหญ่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต้องการสันติภาพ ไม่ต้องการแยกดินแดน ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง รักในหลวง มีความทุกข์จากความรุนแรงจากทั้ง 2 ฝ่าย คือผู้ก่อความไม่สงบและฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ
4. กำลังติดอาวุธของรัฐ ได้แก่ ตำรวจและทหารที่มีหน้าที่รักษาความสงบ
5. รัฐบาล นโยบายและแนวทางของรัฐที่มีผลต่อความรุนแรงหรือสันติภาพ
6. ประชาชนไทยทั้งประเทศ ความเข้าใจ อารมณ์ และท่าทีของสังคม มีผลต่อการตัดสินใจของรัฐบาล และต่อปฏิกิริยาของผู้ก่อความไม่สงบ
7. ประชาคมโลก ในยุคโลกาภิวัตน์ ความเข้าใจและท่าทีของประชาคมโลกมีผลต่อการแก้ปัญหาในประเทศไทย เช่น สื่อมวลชนระหว่างประเทศ องค์การสหประชาชาติ องค์กรสิทธิมนุษยชน โลกอิสลามซึ่งประกอบด้วยมุสลิม 1,200 ล้านคน
ถ้ารัฐบาลทำผิดหลักมนุษยชน สื่อมวลชนนานาชาติจะประโคม องค์กรสิทธิมนุษยชนประท้วง จะทำให้
รัฐบาลอ่อนแอทางศีลธรรมและด้อยความชอบธรรม
ถ้าโลกอิสลามเข้าใจว่าประเทศไทยรังแกคนไทยมุสลิมและขาดความเป็น ธรรม จะมีผลส่งเสริมให้กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบใช้ความรุนแรงมากขึ้น กลุ่มแนวร่วมขยายตัว หรือถึงกับดึงกลุ่มจิฮาดเข้ามาปฏิบัติการในประเทศไทย
อันที่จริงส่วนที่เกี่ยวข้องกับสงครามหรือสันติภาพใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีมากและสลับซับซ้อนมากกว่านี้ เช่น อำนาจนอกรัฐบาล แต่นำเสนอไว้เพียง 7 ชั้น เพื่อให้พอเข้าใจได้ง่าย และเข้าใจยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหา
ในการจะดับไฟใต้ได้ ต้องเข้าใจสัมพันธภาพของโครงสร้างทั้ง 7 ชั้น มีนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการ ที่จะวางตำแหน่งแห่งหนขององค์ประกอบ 6 ชั้น คือ ชั้น 2-6 ให้ถูกต้อง เพื่อจำกัดพื้นที่ จำนวน และความสามารถในการปฏิบัติการขององค์ประกอบที่ 1 หรือผู้ก่อความไม่สงบ
7. กับดักของผู้ก่อความไม่สงบ
ผู้ก่อความไม่สงบใช้การฆ่าผู้บริสุทธิ์เพื่อเป็นการยั่วยุให้สั งคมไทยและรัฐบาลโกรธ และส่งกำลังเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง ในการปราบปรามอย่างรุนแรงจะไปโดนประชาชนผู้บริสุทธิ์ คือมุสลิมผู้รักสันติ จะทำให้คนเกลียดรัฐบาลมากขึ้น และเพิ่มแนวร่วมให้แก่ผู้ก่อความไม่สงบทำให้ผู้ก่อความไม่สงบมี กำลังมากขึ้น มีแนวร่วมคุ้มกันมากขึ้น ยากแก่การปราบปราม การต่อสู้สงครามจรยุทธ์ การโถมกำลังใหญ่เอาชนะไม่ได้ ดังที่กองทัพอเมริกันอันเกรียงไกรแพ้สงครามเวียดนาม และที่กำลังเข้าไปติดกับอยู่ในอิรักขณะนี้
คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) พยายามทำความเข้าใจกับรัฐบาลและสังคมไม่ให้ตกเข้าไปสู่กับดักนี ้
การระวังติดกับดัก ไม่ได้แปลว่าไม่ได้ปราบปราม ไม่ได้แปลว่ารักผู้ก่อการร้ายมากกว่ารักทหาร ตำรวจ และคนไทยผู้บริสุทธิ์ แต่เพื่อไม่ให้เพลี่ยงพล้ำ ขอให้สื่อมวลชน รัฐบาล และประชาชนไทย สมัครสมานกันทำความเข้าใจที่จะไม่ตกไปสู่กับดักของผู้ก่อความไม ่สงบ
8.สงครามข่าว
ผู้ก่อความไม่สงบใช้ยุทธการข่าว การฆ่าคนนั้นคนนี้เพื่อยุทธการข่าว ซึ่งแบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ
1) ยุทธการข่าวลือ ในหมู่ประชาชนในพื้นที่ เมื่อมีการฆ่าและจับคนร้ายไม่ได้ ก็จะมีการปล่อยข่าวลือว่าเป็นการกระทำโดยรัฐ ทำให้ความหวาดกลัว ความไม่ไว้วางใจ และความเกลียดชัง แพร่กระจายไปทั่ว
2) ยุทธการข่าวทั่วประเทศเกี่ยวกับการฆ่ารายวัน ยุทธการนี้ผู้ก่อความไม่สงบไม่ต้องลงทุนทำอะไร ใช้ การฆ่าให้เป็นข่าว หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ก็ไปออกข่าวทั่วประเทศโดยเขาไม่ต้องเสียเงิน ทั้งนี้เพื่อสร้างความหวาดกลัว ความเสียขวัญ และความเสียสติ จะได้ผลักดันให้ใช้กำลังเข้าปราบปรามด้วยความรุนแรง แล้วเกิดสงครามเรื้อรังที่ยากต่อการยุติ ยุทธการข่าวตอบโต้ที่ดีจึงมีความสำคัญ
ภาค 2 แนวทางและวิธีดับไฟใต้
1. วัตถุประสงค์ 2 ประการพร้อมกัน
วัตถุประสงค์ของแนวทางดับไฟใต้มี 2 ประการพร้อมกัน คือ
1) ระงับความรุนแรงเฉพาะหน้า
2) สร้างสันติภาพถาวร
วัตถุประสงค์ทั้ง 2 ต้องทำพร้อมกัน และอยู่ในกันและกัน จะทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่คำนึงถึงอีกอย่างหนึ่งไม่ได้ เช่น จะระงับความรุนแรงโดยลุยฆ่าดะ โดยไม่คำนึงถึงการสร้างสันติภาพ ก็จะระงับความรุนแรงไม่สำเร็จ ในทำนองกลับกัน การสร้างสันติภาพโดยไม่ระงับความรุนแรงก็ไม่ได้
ขณะนี้มีความเข้าใจผิดกันอยู่มากในเรื่องความสมานฉันท์และสันติ วิธี
คิดว่าถ้าสมานฉันท์และใช้สันติวิธีแล้ว ไม่ระงับความรุนแรง
การระงับความรุนแรงและสมานฉันท์อยู่ในกันและกัน สมานฉันท์ทำให้ระงับความรุนแรงได้ง่ายขึ้น ถ้าระงับความรุนแรงอย่างรุนแรง จะระงับความรุนแรงไม่ได้ เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่ตรงไปตรงมาแบบการปราบโจรหรือสงครามที่กองท ัพต่อกองทัพทำประยุทธกัน แต่เป็นสงครามจรยุทธ์ในเมืองที่ผู้ก่อความไม่สงบมีจำนวนน้อย ซ่อนตัวอยู่ในแนวร่วมและมวลชน การกระทำที่รุนแรงจะไปโดนมวลชน เป็นเหตุให้เพิ่มแนวร่วม ทำให้ความรุนแรงทำได้ง่ายขึ้น
การจะจำกัดพื้นที่และจำนวนของผู้ก่อความไม่สงบได้ จึงต้องสมานฉันท์กับมวลชนกับแนวร่วมกับคนทั้งประเทศ และกับประชาคมโลก
การระงับความรุนแรงเฉพาะหน้ากับการสมานฉันท์จึงไม่ใช่ 2 เรื่องที่แยกกันหรือขนานกัน แต่เป็นการระงับความรุนแรงที่นุ่มนวลรอบคอบ หรือระงับความรุนแรงในกรอบของความสมานฉันท์
2. สามเหลี่ยมดับไฟใต้
คำว่า ดับไฟใต้ ในที่นี้หมายถึง ทั้งระงับความรุนแรงเฉพาะหน้า และการสร้างสันติภาพถาวรไปพร้อมกัน การดับไฟต้องอาศัยองค์ประกอบ 3 ประการ เข้ามาบรรจบกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ดังรูปนี้คือ
1) ระงับความรุนแรงเฉพาะหน้า (ประกบให้ถูกตัวและถูกต้อง)
2) รักษามวลชน (สร้างภูมิคุ้มกัน)
3) สร้างสันติภาพ (สร้างเงื่อนไขการวางอาวุธ)
ทั้ง 3 เรื่องต้องทำไปพร้อมกันและหนุนช่วยซึ่งกันและกัน
การระงับความรุนแรงเฉพาะหน้า ถ้าทำด้วยความรุนแรง ผิดตัว ไม่ยุติธรรม จะไปกระตุ้นให้มีผู้ก่อความ
รุนแรงและแนวร่วมเพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงต้องทำโดยรักษามวลชน ถ้าไม่สร้างเงื่อนไขการวางอาวุธ เชื้อของการก่อความรุนแรงก็ยังคงอยู่ อาจปะทุขึ้นมาอีกเมื่อไรก็ได้ตามสถานการณ์ การระงับความรุนแรงจะทำได้ง่ายขึ้น ถ้าทำบนฐานของการรักษามวลชนและการสร้างสันติภาพ
แต่ละองค์ประกอบ ประกอบด้วยมาตรการต่าง ๆ ดังที่สรุปไว้ในรูปที่ 4
3. ระงับความรุนแรงเฉพาะหน้า
การระงับความรุนแรงเฉพาะหน้าในบริบทของการรักษามวลชน และการสร้างสันติภาพ หมายถึงการระงับความรุนแรงอย่างนุ่มนวลถูกต้อง ประกอบด้วย
1) การข่าวที่แม่นยำ ต้องอาศัยข้าราชการที่สุจริต และมีประสิทธิภาพกับงานมวลชนที่ดี
2) การจับผู้ทำผิดให้ได้ ถ้าจับตัวผู้กระทำผิดไม่ได้ จะเปิดช่องให้มีการปล่อยข่าวลือว่ารัฐเป็น ผู้กระทำ ทำให้ขยายแนวร่วมและมวลชน การจับผู้กระทำผิดได้ทำให้มีผู้ทำผิดน้อยลง ต้องใช้กระบวนการนิติวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้อย่างเต็มที่ อย่างการระเบิดรถไฟใต้ดินที่ลอนดอนเมื่อเร็ว ๆ นี้ จากการเก็บรวบรวมหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างละเอียด ทำให้รู้ตัวผู้ก่อการร้ายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งเชื่อมต่อไปยังแหล่งสนับสนุน
3) การป้องปราม โดยอาศัยการข่าวที่แม่นยำ รู้ตัวผู้ที่อาจก่อความไม่สงบ จัดให้มีการพูดคุย เฝ้าระวัง ประกบตัว จำกัดเสรีภาพในการเคลื่อนไหว หางานให้ทำ ฯลฯ ตามกรณีของความหนักเบา
4) ชุมชนมีส่วนร่วม ในการป้องปราม ถ้าผู้นำชุมชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โต๊ะครู โต๊ะอิหม่าม มีส่วนร่วม ก็จะทำให้นุ่มนวลถูกต้อง และรักษามวลชนได้ดีขึ้น
5) ชุดคุ้มครองหมู่บ้าน อาจจำลอง พตท.43 (พลเรือน ตำรวจ ทหาร) ลงไปในระดับหมู่บ้าน
4. การรักษามวลชน
การรักษามวลชนเป็นปัจจัยชี้ขาดในการเอาชนะสงครามจรยุทธ์ มวลชนที่เข้าใจและเข้มแข็งจะลดความสามารถและจำนวนของผู้ก่อความ ไม่สงบและแนวร่วม มาตรการประกอบด้วย
1) การนิรโทษกรรม ผู้กระทำผิดหรือสงสัยว่ากระทำผิดจะลดความร้อนแรงในความรู้สึกขอ งญาติพี่น้อง เพื่อน แนวร่วม
2) สันติวิธี ไม่มีการอุ้มฆ่าเด็ดขาด ถ้ามีการอุ้มฆ่าจะกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น และทำลายความชอบธรรมของรัฐ ต้องนำยุทธศาสตร์สันติวิธีตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 187/2546 มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ
3) การสื่อสารที่ดี ข่าวลือในพื้นที่จะยุติได้ด้วยการกระทำที่ถูกต้องของรัฐ ส่วนการสื่อสารระดับชาติ สื่อมวลชนต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายและการขับเคลื่อนยุทธ ศาสตร์ ควรมีการทำงานร่วมกับสื่อมวลชนของประเทศเพื่อนบ้านในการสื่อสาร เพื่อเสริมสร้างสันติสุขในชายแดนภาคใต้
4) ความเข้มแข็งของชุมชน ชุมชนที่เข้มแข็งจะสามารถจัดการเรื่องราวของชุมชนทุกอย่าง ได้อย่างบูรณาการ รวมทั้งการรักษาความปลอดภัยด้วย
ควรส่งเสริมการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำของชุมชนให้เต็มพื้นที่ ให้สามารถทำแผนการพัฒนาที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมอันหลากหลายของชุ มชนท้องถิ่น และขับเคลื่อนการพัฒนาด้วยตนเอง ซึ่งรวมถึงสร้างระบบความปลอดภัยของชุมชนและส่งเสริมสิทธิชุมชนใ นการเข้าถึงการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรม ซึ่งจะขจัดความยากจนด้วย
ควรส่งเสริมความเป็นเอกภาพขององค์กรมุสลิม และส่งเสริมมัสยิดให้เข้มแข็ง สามารถเป็นศูนย์กลางของชุมชนมุสลิมในการสร้างสันติสุข
ควรมีการประสานงานองค์กรต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนให้ส่งเสริมชุมชนเข้ม แข็งเต็มพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อชุมชนเข้มแข็งเต็มพื้นที่จะมีภูมิคุ้มกันจากเหตุร้าย
5) สร้างความเข้าใจกับประชาคมโลกและประชาคมอิสลาม ความเข้าใจและท่าทีของประชาคมโลก และประชาคมอิสลามทั่วโลกมีความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาความรุนแรง ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
กระทรวงการต่างประเทศควรเข้ามามีบทบาทอย่างเต็มที่ในนโยบายและย ุทธศาสตร์ดับไฟใต้ และทำหน้าที่สร้างความเข้าใจกับประชาคมโลกและประชาคมอิสลามทั่ว โลก การจะทำความเข้าใจได้รัฐต้องมีพื้นฐานอยู่บนความถูกต้อง
5. การสร้างสันติภาพ หรือ การสร้างเงื่อนไขการวางอาวุธ
เพื่อยุติการก่อความรุนแรง ต้องสร้างเงื่อนไขการวางอาวุธให้ได้ โดยใช้ความเข้าใจและความจริงใจ เงื่อนไขเหล่านี้อาจประกอบด้วย
1) ส่งเสริมความเคลื่อนไหวอิสลามกับสันติภาพอย่างเข้มข้น อิสลามเป็นศาสนาเพื่อสันติภาพ แต่ถูกบิดเบือนหลักการโดยคนบางกลุ่มและมีการสื่อข่าวสารในโลกตะ วันตกให้เห็นเป็นตรงข้าม ประเทศไทยควรส่งเสริมองค์กรมุสลิมให้รวมตัวกันเคลื่อนไหวเรื่อง อิสลามกับสันติภาพ เพื่อเป็นการแก้ไขทัศนะและความคิดที่ผิดพลาด
2) สร้างความยุติธรรม ในอดีตมีการย้ายข้าราชการที่ไม่ดีไปอยู่จังหวัดชายแดน ข้าราชการที่ไม่ดีข่มเหงรังแกชาวบ้าน ก่อให้เกิดความขมขื่นเจ็บแค้นแก่ราษฎรในการไม่ได้รับความเป็นธร รม การขาดความเป็นธรรมเป็นปุ๋ยอย่างดีของความรุนแรง เพราะฉะนั้นต้องมีการทบทวนความยุติธรรมทั้งระบบ รวมทั้งการคัดสรรและฝึกอบรมข้าราชการที่จะไปปฏิบัติงานในท้องถิ ่นต่าง ๆ เฉพาะหน้าต้องสนับสนุนให้สภาทนายความและสื่อมวลชนเข้ามารับรู้ และช่วยเหลือผู้ถูกจับกุมและถูกดำเนินคดี
3) เคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเทศไทยเป็นที่อยู่ของคนหลายเชื้อชาติและหลายศาสนา เช่น ไทย จีน ลาว เขมร มอญ มลายู ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู สิกข์ เป็นต้น
การอยู่ร่วมกันด้วยดีระหว่างคนต่างเชื้อชาติและต่างศาสนาเป็นบ่ อเกิดของสันติสุข ที่ใดมีความเป็นศัตรูและเกลียดชังระหว่างคนต่างเชื้อชาติหรือต่ างศาสนาที่นั่นจะมีความรุนแรงอย่างเรื้อรังเป็นสิบหรือเป็นร้อย ปี หมดโอกาสในการพัฒนา เช่น ความขัดแย้งระหว่างคนผิวดำกับคนผิวขาวในแอฟริกาใต้ ระหว่างยิวกับอาหรับในตะวันออกกลาง ระหว่างพม่ากับชนเผ่าต่าง ๆ ในเมียนมาร์ ระหว่างสิงหลกับทมิฬในศรีลังกา หรือระหว่างฮินดูกับมุสลิมในอินเดีย แต่ที่ใดมีการอยู่ร่วมกันระหว่างคนต่างเชื้อชาติที่นั่นจะมีสัน ติสุข เช่น สวิตเซอร์แลนด์มีคนเชื้อชาติเยอรมัน เชื้อชาติฝรั่งเศส เชื้อชาติอิตาเลียน แต่ทุกคนภูมิใจว่าเป็นคนสวิสส์
คนไทยไม่ใช่คนเชื้อชาติไทยเท่านั้น แต่หมายถึงคนสัญชาติไทยที่มีเชื้อชาติต่าง ๆ กันและนับถือศาสนาต่าง ๆ กัน ทุกคนทุกกลุ่มต้องมีศักดิ์ศรีเสมอกันตามรัฐธรรมนูญ
ควรงดเว้นจากการกระทำใด ๆ ที่เป็นการส่งเสริมความดูหมิ่นหรือความเกลียดชังระหว่างคนไทยกลุ่มต่าง ๆ
ในทางตรงกันข้ามรัฐต้องส่งเสริมให้มีความเข้าใจ และการเห็นคุณค่าของความหลากหลายทางวัฒนธรรม เคารพจารีตประเพณีซึ่งกันและกัน
คนกลุ่มใดก็ตาม ถ้าอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี สามารถทะนุบำรุงวัฒนธรรมของตนเอง มีความเสมอภาคทางโอกาส ย่อมมีความสุข และไม่ต้องการแบ่งแยกหรือก่อความวุ่นวายใด ๆ การส่งเสริมความเคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรม จึงเป็นเงื่อนไขการวางอาวุธที่สำคัญอย่างหนึ่ง และเป็นปัจจัยของการสร้างสันติสุขทุกภูมิภาค
4) การปกครองท้องถิ่นที่ถูกต้องเป็นธรรม การปกครองที่รวมศูนย์อำนาจโดยส่วนกลางทำให้ชุมชนท้องถิ่นอ่อนแอ และเกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรม
ชุมชนท้องถิ่นต่าง ๆ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แต่วัฒนธรรมราชการเป็นวัฒนธรรมเดียว ความขัดแย้งระหว่างระบบราชการรวมศูนย์กับวัฒนธรรมท้องถิ่นมีอาก ารต่าง ๆ กันในต่างท้องถิ่น
ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นมีความขัดแย้งระหว่างระบบราชการกับท้องถิ ่นเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง
ควรมีการปรึกษาหารือกันอย่างจริงใจ โดยคนในชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมถึงระบบการปกครองท้องถิ่นที่ถูก ต้องเป็นธรรม โดยสามารถส่งเสริมสนับสนุนบทบาทของชุมชนท้องถิ่นอย่างสอดคล้องก ับวัฒนธรรมของตนเอง ในขณะเดียวกันได้ประโยชน์จากความเป็นราชอาณาจักรเดียวกันทั้งนี ้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
ถ้าทำเรื่องการปกครองท้องถิ่นได้ดี จะเป็นเงื่อนไขการวางอาวุธที่สำคัญ ในเรื่องการปกครองท้องถิ่นนี้ รวมถึงระบบการศึกษา การสื่อสาร และระบบความยุติธรรมด้วย
5) กระบวนการความจริงและอภัยวิถี เรื่องนี้ประเทศไทยยังไม่มีประสบการณ์ ควรศึกษาจากต่างประเทศที่เขามีความขัดแย้งรุนแรง แล้วในที่สุดสามารถตัดสินใจวางอาวุธและเกิดสันติภาพว่าเกิดขึ้น ได้อย่างไร เช่น ที่แอฟริกาใต้ คนขาวส่วนน้อยเข้าไปใช้อำนาจปกครองคนผิวดำส่วนใหญ่ และมีการแบ่งแยกผิวที่เรียกว่า อปาธีต อย่างรุนแรง คนดำที่ต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพถูกฆ่าหรือจับกุมคุมขัง
เนลสัน แมนเดลา ผู้นำการต่อสู้คนผิวดำถูกคุมขังอยู่ 27 ปี ประชาคมโลกประณามการเหยียดผิว คนผิวขาวก็ไม่กล้าลงจากอำนาจ เพราะกลัวคนผิวดำฆ่า มีขบวนการทำงานเรื่อง สัจจะและสมานฉันท์ (Truth and Reconciliation) เพื่อให้เกิดการให้อภัยและคืนดี ในที่ประชุมคนผิวดำคราวหนึ่ง มีตำรวจซึ่งเป็นคนผิวขาวรับสารภาพว่าเขาได้ฆ่าคนผิวดำไปแล้วอย่ างไร แทนที่คนผิวดำจะมารุมฉีกเนื้อตำรวจคนนั้น ในห้องประชุมมีคนร้องไห้กันระงมและมีการให้อภัย เขาผ่านความทุกข์ยากจากความรุนแรงมานานจนรู้ว่า ความรุนแรงไม่มีทางแก้ด้วยความรุนแรง และค้นพบ อภัยวิถี ในที่สุดรัฐบาลคนผิวขาวยอมให้มีการเลือกตั้ง คนผิวดำชนะเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งก็ไม่ไปเข่นฆ่าคนผิวขาวแต่อย่างใด แอฟริกาใต้ก็มีสันติภาพแต่นั้นมา
รัฐบาลเยอรมันนียอมขอโทษชาวโลกที่รัฐบาลนาซีทำผิดฆ่าชาวยิวไปถึ ง 6 ล้านคน ความโกรธแค้นเกลียดชังต่อเยอรมันก็ลดระดับลง
พระสันตปาปาองค์ที่แล้วได้ขอโทษหลายครั้งในสิ่งที่คริสตจักรทำผ ิดไป แม้บางเรื่องผ่านเลยมาหลายร้อยปีแล้ว เช่น ที่ไปคุกคามจับกุมคุมขังกาลิเลโอและคอร์เปอร์นิคัส ในการค้นพบความจริงเกี่ยวกับดวงอาทิตย์และโลก ซึ่งไม่ตรงกับความเชื่อของคริสตจักรในครั้งนั้น
รัฐใดรัฐหนึ่งหรือผู้มีอำนาจทำผิดได้ทั้งสิ้น ความผิดบางอย่างก็รุนแรง สร้างความเจ็บแค้นไว้ให้กับชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ ความทรงจำของความเจ็บแค้นถ้าอยู่นานเกินหรือถูกกระตุ้นให้มีมาก ขึ้น ย่อมไม่เป็นผลดีต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
ควรมีการศึกษาจากต่างประเทศมากว่า เขามีกระบวนการถอนความแค้นอันเป็นมลพิษทางจิตใจของชาติได้อย่าง ไร กระบวนการความจริงและอภัยวิถีก็เป็นวิธีหนึ่ง ถ้าเรามีความเข้าใจถึงขั้นปฏิบัติได้ ก็จะเป็นเงื่อนไขการวางอาวุธและสร้างสันติภาพ
6) เปิดการเจรจากับแนวร่วม ความขัดแย้งรุนแรงที่ไหน ๆ ในที่สุดก็ต้องยุติกันด้วยการเจรจา จึงควรแสวงหาลู่ทางเจรจากันเพื่อสันติภาพในที่สุด แต่ถ้าได้ดำเนินการตามมาตรการต่าง ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดใน สามเหลี่ยมดับไฟใต้ จะทำให้การเจรจาเพื่อสันติภาพง่ายขึ้น
ตามที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่า การระงับความรุนแรงเฉพาะหน้า การรักษามวลชน และการสร้างสันติภาพ อยู่ในกันและกัน ส่งเสริมซึ่งกันและกัน ต้องทำไปพร้อมกันและบรรจบกันเป็น สามเหลี่ยมดับไฟใต้ ภายในปริมณฑลแห่งความสมานฉันท์และสันติวิธี
Edited by WWW.KKBP.NET