MAIN MENU
หน้าแรก
ในหลวงของเรา
สาระความรู้เกี่ยวกับดนตรี
ดนตรีสากล
ดนตรีไทย
ดนตรีพื้นบ้าน
ดนตรีพื้นบ้านอีสาน
ผลงานที่รับผิดชอบและภาคภูมิใจ
กิจกรรมวงดนตรีสากล
กิจกรรมวงดนตรีพื้นบ้าน
กิจกรรมวงดุริยางค์
กิจกรรมแข่งขันทางวิชาการ
VDO & Multimedia
VDO เฉลิมพระเกียรติ
VDO วงดนตรีสากล
VDO น่าสนใจ
กฎหมายที่จำเป็นต้องรู้
บทความน่าสนใจ
เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
สอนลูกให้เป็นคนดี
เคล็ด (ไม่) ลับ
Link น่าสนใจ
IP ที่ท่านใช้ในขณะนี้
สถิติผู้เข้าชม
 

กลับหน้าสารบัญดนตรีไทย

เครื่องดนตรีไทย

 

  

เครื่องสี

•  ซอ ได้แก่ ซออู้ , ซอด้วง , ซอสามสาย , ซอสามสายหลีบ , ซอกันตรึม

ซอ เป็น เครื่องดนตรีไทย ชนิดหนึ่งจำพวก เครื่องสาย ทำให้เกิดเสียงโดยการใช้คันชักสีเข้ากับสายที่ขึงเอาไว้

ส่วนประกอบ

  • คันทวน
  • กะโหลก
  • หน้าซอ

ประเภท

  • ซอด้วง

    ซอด้วง เป็น ซอ สองสาย มีเสียงแหลม ก้องกังวาน คันทวนยาวประมาณ 72 ซม คันชักยาวประมาณ 68 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 120 – 150 เส้น กะโหลกของ ซอด้วงนั้น แต่เดิมใช้กระบอก ไม้ไผ่ มาทำ ปากกระบอกของซอด้วงกว้างประมาณ 7 ซม ตัวกระบอกยาวประมาณ 13 ซม กะโหลกของซอด้วงนี้ ในปัจจุบันใช้ไม้จริง หรือ งาช้าง ทำก็ได้

    แต่ที่นิยมว่าเสียงดีนั้น กะโหลกซอด้วงต้องทำด้วยไม้ ลำเจียก ส่วนหน้าซอนิยมใช้หนัง งูเหลือม ขึง เพราะทำให้เกิดเสียงแก้วเกิดความไพเราะอย่างยิ่ง ลักษณะของซอด้วง มีรูปร่างเหมือนกับซอของจีนที่เรียกว่า ฮู – ฉิน (Huchin) ทุกอย่าง เหตุที่เรียกว่า ซอด้วง ก็เพราะมีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ เพราะตัวด้วงดักสัตว์ ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่เหมือนกีน จึงได้เรียกชื่อไปตามลักษณะนั้นนั่นเอง

    สายซอด้วงนั้น มีเพียงสองสายและมีเสียงอยู่ สองเสียง คือสายเอกจะเป็นเสียง "เร" ส่วนสายทุ้มจะเป็นเสียง "ซอล" โดยใช้สายไหมฟั่นหรือว่าสายเอ็นก็ได้

    ซอด้วงใช้ใน วงเครื่องสาย วงมโหรี โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำวงและเป็นหลักในการดำเนินทำนอง


ภาพซอด้วง

  • ซออู้

    ซออู้ เป็น ซอ สองสาย ตัวกะโหลกทำด้วย กะลามะพร้าว โดยตัดปาดกะลาออกเสียด้านหนึ่ง และใช้หนังลูก วัว ขึงขึ้นหน้าซอ กว้างประมาณ 13 – 14 ซม เจาะกะโหลกให้ทะลุตรงกลาง เพื่อใส่คันทวนที่ทำด้วยไม้จริง ผ่านกะโหลกลงไป ออกทะลุรูตอนล่างใกล้กะโหลก คันทวนซออู้นี้ ยาวประมาณ 79 ซม ใช้สายซอสองสายผูกปลายทวนใต้กะโหลก แล้วพาดผ่านหน้าซอ ขึ้นไปผูกไว้กับ ลูกบิดสองอัน ลูกบิดซออู้นี้ยาวประมาณ 17 –18 ซม โดยเจาะรูคันทวนด้านบน แล้วสอดลูกบิดให้ทะลุผ่านคันทวนออกมา และใช้เชือกผูกรั้งกับทวนตรงกลางเป็นรัดอก เพื่อให้สายซอตึง และสำหรับเป็นที่กดสายใต้รัดอกเวลาสี ส่วนคันสีของซออู้นั้นทำด้วย ไม้จริงยาวประมาณ 70 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 160 - 200 เส้น ตรงหน้าซอใช้ผ้าม้วนกลมๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นหมอนหนุน สายให้พ้นหน้าซอ ด้านหลังของกะโหลกซอ แกะสลักเป็นรูปลวดลายสวยงาม และเป็นช่องทางให้เสียงออกด้านนี้ด้วย

    ซออู้มีรูปร่างคล้ายๆกับซอของจีนที่เรียกว่า ฮู – ฮู้ ( Hu-hu ) เหตุที่เรียกว่าซออู้ก็เพราะ เรียกตามเสียงที่ได้ยินนั่นเอง ซอด้วง และซออู้ ได้เข้ามามีบทบาทในวงดนตรีเครื่องสายตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 4 นี่เอง โดยได้ดัดแปลงมาจาก วงกลองแขกเครื่องใหญ่ ซึ่งมีเครื่องดนตรีที่ทำลำนำประกอบด้วย ซอด้วง ซออู้ จะเข้ และ ปี่อ้อ ต่อมาได้เอา กลองแขก ปี่อ้อ ออก และเอา ทับ กับ รำมะนา และ ขลุ่ย เข้ามาแทน เรียกวงดนตรีชนิดนี้ว่า วงมโหรีเครื่องสาย มีคนเล่นทั้งหมด 6 คน รวมทั้ง ฉิ่ง ด้ว

  • ซอสามสาย
  • ซอสามสาย เป็น เครื่องดนตรีไทย ชนิดหนึ่ง จำพวก เครื่องสาย มีขนาดใหญ่กว่า ซอด้วง หรือ ซออู้ และมีลักษณะพิเศษ คือมีสามสาย มี คันชัก อิสระ กะโหลกซอ มีขนาดใหญ่ นับเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสง่างามชิ้นหนึ่งในวงเครื่องสาย ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของวง ประวัติ
    ปรากฏหลักฐานจาก จดหมายเหตุ ลาลูแบร์ (หน้า 30) ที่บันทึกไว้ว่า ชาวสยามมีเครื่องดุริยางค์เล็กๆ มีสามสายเรียกว่า “ซอ” …. ” ซึ่งชี้ให้เห็นว่าในสมัย กรุงศรีอยุธยา หรือก่อนนั้น มีซอสามสายและนิยมเล่นกัน และลักษณะรูปร่างของซอสามสายก็คงจะยังไม่สวยงามมากอย่างในปัจจุบันนี้

    จนมาถึงยุคต้นของ กรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 สืบเนื่องมาจากที่พระองค์ท่านมีอัจฉริยภาพในทางศิลปะด้านต่างๆ เช่น ทรงแกะสลักบานประตูพระวิหาร วัดสุทัศน์เทพวราราม ด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง อีกประการหนึ่ง พระองค์ท่านยังโปรดทรงซอสามสายเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้พระองค์ท่านได้ประดิษฐ์คิดสร้างซอสามสายได้ด้วยความประณีต งดงาม และเป็นแบบอย่างมาจนถึงปัจจุบันนี้

    ส่วนต่างๆของซอสามสายมีชื่อเรียกดังนี้
    1. ทวนบน เป็นส่วนบนสุดของคันซอ คว้านด้านในให้เป็นโพรงโดยตลอด ด้านบนสุดมีรูปร่างเป็นทรงเทริด ทวนบนนี้ เจาะรูด้านข้างสำหรับใส่ลูกบิด 3 ลูก ด้านหน้าตรงปลายทวนตอนล่าง เจาะรูสำหรับร้อยสายซอ ที่สอดออกมาจากรัดอก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อกซอ ทวนบนนี้ทำหน้าที่คล้าย ๆ กับท่ออากาศ (Air column) ให้เสียงที่เกิดจากกะโหลกเป็นความถี่ของเสียง แล้วลอดผ่านออกมาทางทวนบนนี้ได้
    2. ทวนล่าง คือส่วนของซอที่ต่อลงมาจากทวนบน ทำเป็นรูปทรงกระบอก และประดิษฐ์ลวดลายสวยงาม เช่นลงยาตะทอง ลงถมปัด ประดับมุก หรืออย่างอื่น เป็นการเพิ่มความวิจิตรงดงาม และเรียกทวนล่างนี้ว่า ทวนเงิน ทวนทอง ทวนมุก ทวนลงยา เป็นต้น ทวนล่างนี้สวมยึดไว้กับทวนบน และเป็นที่สำหรับผูก รัดอก เพื่อบังคับให้สายซอทั้ง 3 เส้นติดอยู่กับทวน นอกจากนั้นทวนล่าง ยังทำหน้าที่เป็นตำแหน่งสำหรับกดนิ้ว ลงบนสายในตำแหน่งต่างๆ
    3. พรมบน คือส่วนที่ต่อจากทวนล่างลงมา ส่วนบนกลึงเป็นลูกแก้ว ส่วนตอนล่างทำเป็นรูปปากช้างเพื่อประกบกับกะโหลกซอ
    4. พรมล่าง คือส่วนที่ต่อจากกะโหลกซอลงมาข้างล่าง ส่วนที่ประกบกับกะโหลกซอทำเป็นรูปปากช้าง เช่นเดียวกับส่วนล่างของพรมบน ตรงกลางของพรมล่างเจาะรูด้านบนเพื่อใช้สำหรับเป็นที่ร้อย หนวดพราหมณ์ เพื่อคล้องกับสายซอทั้งสามสายและเหนี่ยวรั้งให้ตึง ตรงส่วนปลายสุดของพรมล่างกลึงเป็น เกลียวเจดีย์ และตอนปลายสุดเลี่ยมด้วย ทองคำ หรือ ทองเหลืองเป็นยอดแหลม เพื่อที่จะปักกับพื้นได้ สะดวกยิ่งขึ้น คันซอสามสายทั้ง 4 ท่อนนี้จะมีลักษณะกลวงตลอด ยกเว้นพรมล่างตอนที่เป็นเกลียวเจดีย์เท่านั้นที่เป็นส่วนที่ตัน เพราะต้องการ ความแข็งแรง ในขณะปักสีเวลาบรรเลง และคันซอทั้ง 4 ท่อนนี้ จะสวมไว้กับแกนที่สอดไว้กับ กะโหลกซอ
    5. ถ่วงหน้า ถ่วงหน้าของซอสามสาย เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ ติดอยู่ตรงหน้าซอ เพื่อควบคุมความถี่ของเสียง ทำให้มีเสียงนุ่มนวลไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้น
    6. หย่อง ทำด้วยไม้ไผ่ แกะให้เป็นลักษณะคู้ ปลายทั้งสองของหย่องคว้านเป็นเบ้าขนมครกเพื่อทำให้เสียง ที่เกิดขึ้นส่งผ่านไปยังหน้าซอมีความกังวานมากยิ่งขึ้น
    7. คันสี (คันชัก) คันสีของซอสามสาย ประกอบด้วยไม้และหางม้า คันสีนั้นเหลาเป็นรูปคันศร โดยมากนิยมใช้ไม้แก้ว เพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง และมีลวดลายงดงาม
    เสียงของซอสามสาย
    • สายเอก ถ้าปล่อยไม่จับสายจะเป็นเสียง ซอล และใช้ปลายนิ้วแตะที่ข้างสายโดยใฃ้นิ้วชี้ จะเป็นเสียง ลา, ใช้นิ้วกลางแตะที่ข้างสายจะเป็นเสียง ที, ใช้นิ้วนางแตะที่ข้างสายจะเป็นเสียงโด, ใช้นิ้วก้อยแตะที่ข้างสายจะเป็นเสียง เร (เสียงสูง) , ใช้นิ้วก้อยรูดที่สายจะเป็นเสียง มี (เสียงสูง)
    • สายกลาง ถ้าปล่อยไม่จับสายจะเป็นเสียง เร และใช้นิ้วชี้กดลงบนสายจะเป็นเสียง มี, ใช้นิ้วกลางกดลงบนสายจะเป็นเสียง ฟา, ใช้นิ้วนางกดลงบนสายเป็นเสียง ซอล
    • สายทุ้ม ถ้าปล่อยไม่จับสายจะเป็นเสียง ลา และใช้นิ้วชี้กดลงที่สายจะเป็นเสียง ที, ใช้นิ้วกลางกดลงที่สายจะเป็นเสียง โด, ใช้นิ้วนางกดลงที่สายจะเป็นเสียง เร


    ภาพซอ 3 สาย

 

•  สะล้อ

          สะล้อ เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมือง ล้านนา ชนิดหนึ่ง เป็นประเภทเครื่องสีซึ่งมีทั้ง 2 สายและ 3 สาย คันชักสำหรับสีจะอยู่ข้างนอกเหมือนคันชัก ซอสามสาย สะล้อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทร้อ หรือ ซะล้อ มีรูปร่างคล้าย ซออู้ ของภาคกลาง ใช้ไม้แผ่นบาง ๆ ปิดปากกะลาทำหลักที่หัวสำหรับพาดทองเหลือง ด้านหลังกะโหลกเจาะเป็นรูปลวดลายต่าง ๆ เช่น รูป หนุมาน รูปหัวใจ ส่วนด้านล่างของกะโหลก เจาะทะลุลง ข้างล่าง เพื่อสอดคันทวนที่ทำด้วย ไม้ชิงชัน ยาวประมาณ 64 ซม ตรงกลางคันทวนมีรัดอกทำด้วย หวาย ปลายคันทวนด้านบนเจาะรูสำหรับสอดลูกบิด ซึ่งมี 2 หรือ 3 อัน สำหรับขึงสายซอ จากปลายลูกบิดลงมาถึงด้านกลางของกะโหลกมีหย่องสำหรับ หนุนสายสะล้อเพื่อให้เกิดเสียงเวลาสี คันชักสะล้อทำด้วยไม้ดัดเป็นรูปโค้ง ขึงด้วยหางม้าหรือพลาสติก เวลาสีใช้ยางสนถูทำให้เกิดเสียงได้

สะล้อใช้บรรเลงประกอบการแสดงหรือบรรเลงร่วมกับบทร้องและทำนองเพลงได้ทุกชนิดเช่น เข้ากับ ปี่ ในวงช่างซอ เข้ากับ ซึง ในวงพื้นเมือง หรือใช้เดี่ยวคลอร้องก็ได้


ภาพสะล้อ

•  รือบับ

          รือบับ ( อังกฤษ : Rebab ; อาหรับ : ?????? หรือ ???? ?) เป็นที่เข้าใจกันว่าเป็น เครื่องดนตรี ที่มีการละเล่นกันตั้งแต่ในบริเวณสามจังหวัดชายแดนใต้ มาเลเซีย สุมาตรา เหนือของ ประเทศอินโดนีเซีย และ ชวา ใช้ในการแสดง เมาะโย่ง หรือมะโย่ง ซึ่งการละเล่นนี้ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเป็นศิลปะละครรำในวัฒนธรรมหลวงหรือเป็นวัฒนธรรมราษฎร์ของ คนถิ่นมลายู แต่ที่ ปัตตานี ปรากฏหลักฐานการละเล่นนี้ที่หนังสือ ฮิกายัดปัตตานีหรือพงศาวดารปัตตานี ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 รือบับมีลักษณะโดยรวมคล้ายกับ ซอสามสาย ของภาคกลาง


ภาพรือบับ

กลับขึ้นด้านบน

อ้างอิงจาก http://th.wikipedia.org/

 
เวบไซต์ : สุนทรียภาพแห่งดนตรี เพื่อชีวีเป็นสุข : นี้ จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น
มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าหรือธุรกิจใดๆ ทั้งสิ้น หากข้อมูลหรือบทความใดๆ ไม่ถูกต้อง
กรุณาแจ้ง Webmaster เพื่อทำการแก้ไข จักเป็นพระคุณยิ่ง และกรุณาอย่านำข้อมูลในเวบไซต์นี้ไปใช้เพื่อการค้าหรือธุรกิจใดๆ ทั้งสิ้น

Webmaster : นายสันติ เที่ยงผดุง ตำแหน่ง ครู
โรงเรียนบ้านหนองแวงโสกพระ ต.หนองแวงโสกพระ อ.พล จ.ขอนแก่น
E-Mail : santi.t@obec.go.th, hs3ryg@gmail.com, Facebook : http://www.facebook.com/hs3ryg