กลับหน้าสารบัญดนตรีไทย
วงดนตรีไทยและเพลงดนตรีไทย
วงดนตรีไทย
ดนตรีไทยมักเล่นเป็นวงดนตรี มีการแบ่งตามประเภทของการบรรเลงที่เป็นระเบียบมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันเป็น 3 ประเภท คือ
วงปี่พาทย์
เป็นวงที่ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีประเภทตี เป่า และเครื่องประกอบจังหวะ ใช้บรรเลงในงานพระราชพิธีและพิธีต่าง ๆ แบ่งได้ 3 ขนาด คือ
- วงปี่พาทย์เครื่องสิบ ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ปี่ใน ฉิ่ง ตะโพน กลองทัด
- วงปี่พาทย์เครื่องห้า แบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่
- ปีพาทย์เครื่องห้าอย่างหนัก จะใช้สำหรับการบรรเลงใน การแสดงมหรสพ หรืองานในพิธีต่างๆ ซึ่งจะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีต่างๆ ดังนี้คือ ฆ้องวงใหญ่ ปี่ใน กลองทัด ตะโพน และ ฉิ่ง
- ปีพาทย์เครื่องห้าอย่างเบา ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีต่างๆ ดังนี้คือ กลองชาตรี ฆ้องคู่ ฉิ่ง ปี่ และ ทับ หรือ โทน
- วงปี่พาทย์เครื่องคู่ เหมือนวงปี่พาทย์เครื่องห้า เพียงแต่เพิ่ม ระนาดทุ้ม และ ฆ้องวงเล็ก เข้าไป
- วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เหมือนวงปี่พาทย์เครื่องคู่ เพียงแต่เพิ่ม ระนาดเอกเหล็ก และ ระนาดทุ้มเหล็ก เข้าไป
วงปี่พาทย์ยังมีอีก 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
วงปี่พาทย์นางหงส์ คือวงปี่พาทย์ชนิดหนึ่งที่นำเอาวงปี่พาทย์ไม้แข็งมาประสมกับ วงบัวลอย โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบดังนี้
- ใช้ กลองมลายู มาตีแทน ตะโพน และ กลองทัด (บางที่ก็ใช้กลองทัดแทนกลองมลายู)
- ใช้ ปี่ชวา มาเป่าแทน ปี่ใน
- เอาฆ้องเหม่งออก เพราะมี ฉิ่ง เป็นตัวควบคุมจังหวะแล้ว
เหตุที่ใช้ชื่อวงปี่พาทย์นี้ว่าวงปี่พาทย์นางหงส์ก็เนื่องจากเรียกตามชื่อเพลงที่เล่นคือเพลงเรื่องนางหงส์ โดยจะใช้เล่นเฉพาะงานอวมงคลเท่านั้น ปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่นิยม เพราะได้หันมานิยม วงปี่พาทย์มอญ แทน วงปี่พาทย์นางหงส์ เดิมเป็นวงที่ใช้บรรเลงในงานศพของสามัญชน ต่อมาได้นำมาบรรเลงในงานสวดพระอภิธรรมศพเจ้านาย และใช้ในตอนถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระศพ เมื่อครั้งงานพระบรมศพของสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระประสงค์ให้นำวงปี่พาทย์นางหงส์ ของกรมศิลปากรมาประโคมย่ำยาม ต่อจากวงประโคมของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง จึงนับเป็นครั้งแรกที่ได้นำวงปี่พาทย์นางหงส์มาใช้ในงานพระบรมศพด้วย
เพลงที่บรรเลง เรียกว่า เพลงชุดนางหงส์ ประกอบด้วยเพลง
- เพลงนางหงส์ (หรือเพลงพราหมณ์เก็บหัวแหวน)
- เพลงสาวสอดแหวน
- เพลงแสนสุดสวาท
- เพลงแมลงปอ
- เพลงแมลงวันทอง

วงปี่พาทย์นางหงส์
เป็นวงดนตรีที่มาพร้องกับชาวมอญที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ได้รับอิทธิพลมาจากมอญได้แก่ ปี่มอญ ฆ้องมอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก และ ฆ้องราว
วงปี่พาทย์มอญมี 3 ขนาดเช่นเดียวกับ วงปี่พาทย์ไม้แข็ง ของไทย ดังนี้
- วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า ประกอบด้วย ระนาดเอก ปี่มอญ ฆ้องมอญวงใหญ่ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก และเครื่องกำกับจังหวะคือ ฉิ่ง และฉาบ โหม่ง
- วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ มีลักษณะเดียวกันกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า เพียงแต่วงนี้ได้เพิ่ม ระนาดทุ้ม และฆ้องมอญวงเล็กเข้ามา
- วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ มีลักษณะเดียวกันกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ แต่ได้เพิ่ม ระนาดเอกเหล็ก และ ระนาดทุ้มเหล็ก เข้ามา
วงปี่พาทย์มอญมีการจัดรูปแบบวงที่แตกต่างจากวงปีพาทย์ของไทยตรงที่ตั้ง ฆ้องมอญ ไว้ด้านหน้าสุด ซึ่งการจัดรูปแบบวงนั้นไม่ทราบแน่ชัดว่าใครกำหนดและทำเพื่ออะไร บ้างก็ว่าเพื่อความสวยงามเมื่อมองจากด้านหน้า บ้างก็ว่าเป็นการให้เกียรตวัฒนธรรมมอญ บ้างก็ว่าเป็นเพราะฆ้องมอญทำหน้าขึ้นวรรคเพลงเช่นเดียวกับ ระนาดเอก
วิวัฒนาการในปัจจุบัน ในปัจจุบันวงปี่พาทย์มอญเจริญเติบโตอย่างมาก โดยการขยายวงให้ใหญ่ขึ้นเป็นวงปี่พาทย์มอญวงพิเศษ บางอาจจะมีฆ้องมอญถึง 10 โค้งหรือมากกว่านั้น ทำให้วงปี่พาทย์มอญนอกจากจะใช้เป็นเครื่องประโคมศพแล้ว ยังแสดงถึงเกียรติยศของผู้ตายอีกด้วย
นอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยการเพิ่มฆ้องมอญให้มากขึ้นแล้ว ยังได้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเครื่องดนตรีเพื่อให้เหมาะสมกับวง คือเปลี่ยนลักษณะของรางระนาดเอกและ ระนาดทุ้ม ให้เหมือนกับฆ้องมอญ เพียงแต่ย่อสัดส่วนให้ต่ำลง
โอกาสที่ใช้บรรเลง วงปี่พาทย์มอญแท้จริงแล้วใช้บรรเลงได้ในงานมงคล แต่คนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้บรรเลงในงานศพ สืบเนื่องมาจากมีการนำวงปี่พาทย์มอญไปบรรเลงในงานพระบรมศพ สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระราชินีใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าจ้าอยู่หัว ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระดำริว่า พระราชมารดาของพระองค์นั้นทรงมีเชื้อสายมอญโดยตรง จึงโปรดให้นำวงปี่พาทย์มอญมาบรรเลง ด้วยเหตุนี้เองจึงได้เป็นความเชื่อและยึดถือมาโดยตลอดว่า วงปี่พาทย์มอญเล่นเฉพาะงานศพเท่านั้น
งานศพสมัยก่อนนั้นจะใช้เพลงประโคมที่เรียกว่า"ประจำวัด"โดยจะประโคมหลังการสวดพระอภิธรรมเสร็จสิ้น เช่นเดียวกับ วงปี่พาทย์นางหงส์ นอกจากนี้ก็ยังมีเพลงเวียนเมรุ หาบกล้วย จุดเทียน ในยุคหลังๆได้มีครูดนตรีไทยที่มีเชื้อสายมอญแต่งเพลงมอญให้วงปี่พาทย์มอญเช่นประจำบ้าน ย่ำเที่ยง ย่ำค่ำ ฯลฯ
ในยุคปัจจุบันก็มีเพลงมอญเกิดขึ้นอย่างมากมาย ส่วนใหญ่ก็จะนำเพลงที่คนส่วนใหญ่รู้จักนำมาแต่งเป็นสำเนียงมอญ ทำให้เพลงมอญในปัจจุบันมีความแตกต่างจากเพลงมอญโบราณเป็นอย่างมาก
วงปี่พาทย์มอญ

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เกิดขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้รับอิทธิพลจากละคร โอเปร่า ของ ยุโรป ซึ่ง เจ้าพระยาเทเวศร์วงวิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) และ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ร่วมกันปรับปรุงขึ้น เหตุที่มีชื่อว่าดึกดำบรรพ์นั้นมาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์ฯ ก็เลยเรียกเรียกวงดนตรีนี้ตามชื่อของโรงละคร
เครื่องดนตรีในวง สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงคัดเลือกเครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มนุ่มนวลมารวมกัน ดังนี้
 นอกจากนั้นเป็นเครื่อง วงปี่พาทย์ยังแบ่งไปได้อีกคือ วงปี่พาทย์ชาตรี , วงปี่พาทย์ไม้แข็ง , วงปี่พาทย์เครื่องห้า , วงปี่พาทย์เครื่องคู่ , วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ , วงปี่พาทย์ไม้นวม

วงเครื่องสาย
เครื่องสาย ได้แก่ เครื่องดนตรี ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีสายเป็นประธาน มีเครื่องเป่า และเครื่องตี เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ เป็นต้น ปัจจุบันวงเครื่องสายมี 4 แบบ คือ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว , วงเครื่องสายเครื่องคู่ , วงเครื่องสายผสม , วงเครื่องสายปี่ชวา
วงมโหรี
ในสมัยโบราณเป็นคำเรียกการบรรเลงโดยทั่วไป เช่น "มโหรีเครื่องสาย" "มโหรีปี่พาทย์" ในปัจจุบัน มโหรี ใช้เป็นชื่อเรียกเฉพาะวงบรรเลงอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีเครื่อง ดีด สี ตี เป่า มาบรรเลงรวมกันหมด ฉะนั้นวงมโหรีก็คือวงเครื่องสาย และวงปี่พาทย์ ผสมกัน วงมโหรีแบ่งเป็น วงมโหรีเครื่องสี่ , วงมโหรีเครื่องหก , วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก , วงมโหรีเครื่องคู่
เพลงดนตรีไทย
แบ่งได้เป็น 4 แบบคือ
เพลงหน้าพาทย์ ได้แก่ เพลงที่บรรเลงประกอบกิริยาเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งของ มนุษย์ ของ สัตว์ ของวัตถุต่าง ๆ และอื่น ๆ
เพลงขับร้อง ที่เรียกว่าเพลงรับร้องก็ด้วยบรรเลงรับจากการร้อง คือ เมื่อคนร้องได้ร้องจบไปแล้วแต่ละท่อน ดนตรีก็ต้องบรรเลงรับในท่อนนั้น ๆ โดยมากมักเป็นเพลงอัตรา 3 ชั้นและเพลงเถา เช่น เพลงจระเข้หางยาว 3 ชั้น เพลงสี่บท 3 ชั้น และเพลงบุหลันเถา เป็นต้น
เพลงละคร หมายถึงเพลงที่บรรเลงประกอบการแสดง โขน ละคร และมหรสพต่าง ๆ ซึ่งหมายเฉพาะเพลงที่มีรัองและดนตรีรับเท่า นั้น เพลงละครได้แก่เพลงอัตรา 2 ชั้น เช่น เพลงเวสสุกรรม เพลงพญาโศก หรือชั้นเดียว เช่น เพลงนาคราช เพลงตะลุ่มโปง เป็นต้น
เพลงเบ็ดเตล็ด ได้แก่ เพลงเล็ก ๆ สั้น ๆ สำหรับใช้บรรเลงเป็นพิเศษ เช่น บรรเลงต่อท้ายเพลงใหญ่เป็นเพลงลูกบท หรือเพลงภาษา ต่าง ๆ ซึ่งบรรเลงเพื่อสนุกสนาน
|