การประสมวงดนตรีพื้นบ้านอีสานเหนือ

การประสมวงดนตรีพื้นบ้านอีสานเหนือ

            การประสมวงดนตรีตามกลุ้มวัฒนธรรมหมอลำ เป็นกลุ้มวัฒนธรรมแถบอีสานเหนือเป็นส่วนใหญ่ ในสมัยก่อนไม่นิยมประสมวงหรือการบรรเลงด้วยกันจะมีเฉพาะประเภทกลองยาวแลเครื่งดนตรีผู้ไทเท่านั้น
ส่วนมากนิยมเล่นเครื่องดนตรีต่าง ๆ เป็นเอกเทศหรือเล่นเดียว ต่อมาภายหลังได้มีการประสมวงพิณ
วงแคน วงโปงลาง ที่นิยมเล่นในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ส่วนวงดนตรีพื้นบบ้านที่เป็นของชาวบ้าน
จะมีน้อยมากที่พอมีอยู่บ้างก็คือ วงเพชรพิณทองซึ่งนำมาเล่นร่วมกับวงดนตรีลูกทุ่งจนเป็นที่นิยมแพร่หลาย รายละเอียดของการประสมวงดนตรีพื้นบ้านอีสานมีดังนี้

          1. วงกลองยาว  รำกลองยาว โดยไอยรัศมิ์โชว์ เป็นการประสมวงกลองยาวประกอบด้วยกลองยาวประมาณ 3-4 ใบ กลองรำมะนาใหญ่ ที่ชาวบ้านเรียกว่า กลองตึ้ง 1 ใบ และฉาบ 1 คู่ ตีเป็นทำนองและจังหวะแบบอีสาน ชาวบ้านมักร้องเป็นทำนองว่า “ เปิ้ด เป่ง ฮึ้ม เป่ง เปิ้ด เป่ง เป่ง เปิ้ดเป่ง เป่ง เป่ง เปิ้ด ป่ง ฮึ่ม ” กลองยาวมักนิยมใช้ประกอบขบวนแห่ตามงานบุญต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแห่กันหลอนในงานบุญพระเวสสันดร

           2. วงแคน ประกอบด้วยเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานโดยมีแคนเป็นหลักจะมีจำนวนสักกี่เต้าก็ได้ นอกจากนั้นมีเครื่องดนตรีเสริมด้วย เช่น พิณ ซอ ฉิ่ง ไหซอง และกลองตามที่เห็นสมควรในแต่ละท้องถิ่น

           3. วงพิณ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานที่มีพิณเป็นหลักจะมีกี่ตัวก็ได้ นอกจากนั้นก็มีเครื่องดนตรีประกอบเสริม เช่น แคน ซอ ฉิ่งและกลอง

           4. วงโปงลาง ประกอบด้วยวงดนตรอีสานที่มีโปงลางเป็นหลักโดยจะมีโปงลางกี่ผืนก็ได้ นอกจากนั้นมีเครื่องดนตรีเสริม เช่น พิณ แคน ซอ ฉิ่ง กลอง เป็นต้น

           5. วงลำเพลิน ประกอบด้วยแคนและกลองชุด

           6. วงลำซิ่ง ประกอบด้วยแคนและกลองชุด

นาฏศิลป์พื้นเมืองอีสานเหนือ

           การร่ายรำแบบชาวบ้านหรือเรียกกันตามท้องถิ่นว่า “ ฟ้อน ” นั้น มีหลายชนิด
แต่ละชนิดมีลักษณะประจำของมันเอง เช่น ลักษณะการก้าวเท้า สวมเล็บ ยกเท้าสูง กระตุกส้น
ย่อตัว ฯลฯ ท่ารำต่าง ๆ เลียนแบบอากัปกิรอยาที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันแล้วนำมาประดิษฐ์ให้สวยงามและมีศิลปยิ่งขึ้น
ชนิดของการร่ายรำพื้นเมืองของอีสานเหนือที่ปฏิบัติกันอยู่มีดังนี้

หมอลำ

การร่ายรำของหมอลำ
          หมอลำหมายถึงนักร้องเพลงพื้นบ้านอีสาน การลำก็คือการร้องเพลงพื้นบ้านนั้นเอง การลำมีอยู่หลายทำนอง
เช่น ทำนองลำสั้นหรือลำกลอน ลำยาวหรือลำล่องของ (ล่งโขง) หรือลำล่อง ลำเต้ย ลำเพลิน
การแสดงของหมอลำแต่ละครั้งจะประกอบด้วยทำนองเหล่านี้ และบางขั้นตอนหมอลำจะลำพร้อมกับร่ายรำไปด้วย เช่น

ลำกลอนเกี้ยว
          เป็นการลำทั่วไประหว่างหมอลำชายกับหมอลำหญิง เป็นการทดสอบความรู้ของอีกฝ่าย

ลำเต้ย
          มีทำนองการลำโดยเฉพาะใช้ในการเกี้ยวพาราสีระหว่างหมอลำชายกับหมอลำหญิงด้วยคารมกลอน

หมอลำหมู่
          การลำหมู่เป็นการแสดงหลายคน แสดงเป็นเรื่องราวคล้ายลิเก ผู้แสดงแต่งตัวแต่งกายให้เหมาะสมกับฐานะตามท้องเรื่อง
เรื่องที่นำมาแสดงได้จากนิทานหรือ วรรณคดีพื้นบ้านอีสาน ตัวแสดงที่สำคัญจะฟ้อนรำท่าทีอ่อนช้อยสวยงาม
สว่นตัวตลกมักใช้ท่าทางที่ชวนขบขัน

ดนตรีที่ใช้ประกอบ
          คือ แคน พิณ ฉิ่ง ฉาบ และกลอง

เซิ้ง
          การเซิ้งเป็นการเลียนแบบชีวิตประจำวันมีหลายอย่างและมีผู้คิดประดิษฐ์เพิ่มเติมขึ้นมาใหม่อยู่เสมอ
เช่น เซิ้งสวิง (เครื่องมือจับปลา) เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งสาวไหม การเซิ้งเป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสานเหนือ
งานเทศกาลทหรสพคบงันต่าง ๆ ถ้าขาดเซิ้งไปจะทำให้บรรยายกาศของงานกร่อยไปมากที่เดียว

ดนตรีที่ใช้ประกอบ
          วงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบเป็นวงผสม มีแคน พิณ ซอ และเครื่องประกอบจังหวะต่าง ๆ เช่น กลองยาว
ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และกรับ โดยเฉพาะกลองยาวจะใช้หลายใบเพื่อเน้นจังหวะและความครึ้กครื้น สนุกสนาน

ฟ้อนผู้ไทยหรือภูไท
          การฟ้อนผู้ไทยใช้จังหวะช้าเพื่อแสดงออกถึงความสวยงาม ความอ่อนช้อยละมุนละไม
ช้ากว่าจังหวะเซิ้งซึ่งจัดเป็นประเภทรำอีกหนึ่งเท่าตัว กล่าวคือผู้ฟ้อนผู้ไทนก้าวไปหนึ่งก้าว
เซิ้งจะรำไปได้สองก้าว หรือถ้าเปรียบเทียบกับจังหวะดนตรี ฟ้อนผู้ไทยก้าวเท้าตามโน๊ตตัวดำ
เซิ้งก้าวเท้าตามจังหวะตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น

ดนตรีที่ใช้ประกอบ
          เป็นวงดนตรีพื้นบ้านผสม ประกอบด้วยแคน ซอ และเครื่องจังหวะต่าง ๆ

แสกเต้นสาก
          เต้นสากเป็นการรำกระทบไม้ แสกเต้นสาก หมายถึง การรำกระทบไม้ของชาวแสกและกระทำอยู่ในกลุ่มตน การเต้นสากเป็นการเต้นประกอบการร่ายรำตามจังหวะกระทบของไม้ไผ่หลายคู่ คนเต้น 4 คน คนกระทบเรียกว่าสากคู่ละ 2 คน
หากใช้ไม้สาก 6 คู่ ก็จะต้องใช้คนกระทบไม้จำนวน 12 คน คนตีกลองหนึ่งคน และตีฉิ่งอีกหนึ่งคน

ดนตรีที่ใช้ประกอบ
          กลอง ฉิ่ง

ฟ้อนผีฟ้าหรือผีหมอ
          ผีฟ้าหรือผีหมอเป็นความเชื่อของชาวพื้นเมืองอีสานเกี่ยวกับเรื่องวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
ที่ต้องการที่ยึดที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ผู้ที่วิญญาณต้องการอยู่ด้วยมักเป็นญาติ และสามารถรู้ได้โดยที่ตนเองล้มป่วยลง เมื่อไปหาหมอทางไสยศาสตร์และพบว่าเป็นวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วอยากมาอยู่ด้วยการฟ้อนผีฟ้าหรือผีหมอ
เป็นการฟ้อนที่ไม่มีระเบียบแบบแผนหรือใช้หลักทางนาฏศิลป์แต่อย่างไร การเคลื่อนไหวเป็นไปตามจังหวะกลองและดนตรี

ดนตรีที่ใช้ประกอบ
          แคน พิณ ฆ้อง ฉาบ กลอง บรรเลงประกอบไปด้วย

หนังตะลุงอีสาน
          ในปี พ.ศ. 2467 มีหลักฐานว่าหนังตะลุงอีสานเลียนแบบจากหนังตะลุงคณะที่ไปจากพระนครศีรอยุธยา
เรียกได้หลายชื่อ เช่น หนังปราโมทัย หรือหนังบักตื้อ หนังบักป่อง เรื่องที่นิยมเล่นกันมาก
คือ รามเกียรติ์ จำปาสี่ต้น นางแตงอ่อน ศิลป์ชัย ตัวหนังตะลุงจะเป็นของคนในภาคอีสาน ยกเว้นเรื่องรามเกียรติ์ การแสดงเป็นแบบหมอลำ ส่วนบทเจรจาใช้ภาษาท้องถิ่น

ดนตรีที่ใช้ประกอบ
           พิณ แคน ซอ โหวด กลอง ฉาบ ฉิ่ง

Related Articles

Free Joomla templates by Ltheme