โน้ตดนตรีเบื้องต้น
เนื้อหาในส่วนนี้จะช่วยให้คุณได้รู้จักกับโน้ตดนตรี ความหมาย การอ่าน รวมทั้งโน้ตดนตรีที่อยู่บนฟิงเกอร์บอร์ดกีตาร์ว่ามีโน้ตอะไรอยู่ตรงไหนบ้าง
บางคนอาจจะเบื่อเพราะคิดว่าไม่เห็นจำเป็นแค่จับคอร์ดก็เล่นกีตาร์ได้แล้ว แต่การที่เราจะเข้าใจการเล่นกีตาร์ให้ลึกซึ้งนั้น ไม่ใช่แค่นั่งตีคอร์ดก็ได้แล้ว
ความจริงแล้ว มีความจำเป็นมากที่ต้องรู้เรื่องโน้ตดนตรี
และยิ่งถ้าคุณจะศึกษาการเล่นกีตาร์ในระดับที่ยากขึ้น
คุณหนีไม่พ้นแน่นอนครับกับเรื่องทฤษฎีดนตรี
โน้ตดนตรีคือเครื่องหมายที่แทนค่าเสียงดนตรีนั่นเองเพื่อให้มีความเป็นสากลในการบันทึก
เช่นการเขียนหนังสือให้คนอ่านหนังสืออ่านอ่าน แต่โน้ตใช้บันทึกดนตรีให้นักดนตรีเล่น
เราจะแบ่งพิจารณาใน 2 ลักษณะคือ
- ระดับเสียงสูงต่ำของโน้ตดังกล่าว โดยสามารถทราบจากระบบ "บรรทัด 5 เส้น" ( staff)
- ระยะความสั้นยาวของเสียงดังกล่าวหรือเรียกว่าจังหวะ โดยจะทราบจากลักษณะของตัวโน้ต
เช่น โน้ตตัวกลม ตัวดำ เป็นต้น
เกิดจากเส้นตรง 5 เส้น ขีดซ้อนกันในแนวดิ่ง ซึ่งจะบอกให้ทราบถึงระดับเสียงของดนตรี
หรือตัวโน้ตนั้นว่าเป็นเสียงอะไร โดยที่แต่ละเส้นและช่องระหว่างเส้นทั้ง 5 นั้นจะมีค่าเสียงที่ต่างกัน
จากเสียงต่ำไปหาสูงถ้าไล่จากเส้นล่างไปหาเส้นบน และจะกำหนดค่าของเสียงด้วยกุญแจ ( Key Signature)
สำหรับกีตาร์จะเป็นกุญแจซอล (treble clef หรือ G-clef) ซึ่งกำหนดให้เส้นที่ 2 จากล่างมีค่าเป็นเสียงซอล
ดังนั้นจะได้เสียงประจำเส้นและช่องต่าง ๆ ของ staff ดังนี้
โดยที่ระดับเสียงต่ำจะอยู่ด้านล่างของ staff และเมื่อระดับเสียงนั้นสูง หรือต่ำเกินกว่าในบรรทัด 5 เส้น
ปกติ จะเขียนเส้นขนานเล็ก ๆ ที่ด้านบนเพื่อบันทึกโน้ตเมื่อระดับเสียงสูงกว่าในบรรทัด 5 เส้นปกติ และในทางตรงกันข้ามถ้าระดับเสียงต่ำกว่าปกติก็จะเขียนเส้นดังกล่าวขนานกับบรรทัด 5 เส้นด้านล่าง
ซึ่งเส้นดังกล่าวนี้เรียกว่า"เส้นน้อย" ( Leger Line)
สำหรับระดับเสียงของดนตรีสากลนั้นมี 7 เสียง แทนด้วยตัวอักษร 7 ตัวแรกของภาษาอังกฤษ
คือ A, B, C, D, E, F และ G แต่ในการอ่านจะเริ่มจาก C และอ่าน C = โด , D = เร , E = มี , F = ฟา ,
G = ซอล , A = ลา , B = ที จากนั้นก็จะวนกลับไปที่ C ( โด) แต่จะมีระดับเสียงที่สูงกว่า C ตัวแรก
(เรียกว่าเสียงสูงกว่า 1 อ๊อกเท็ป [Octave] ซึ่งจะกล่าวต่อไป)
ในขั้นแรกขอให้ จำให้ได้ก่อนว่าเสียงอะไรแทนด้วยสัญลักษณ์อะไร
ซึ่งมีความสำคัญมากในการศึกษาขั้นต่อไป
การกำหนดค่าความสั้นยาวของเสียง
นอกจากระดับเสียงแล้วเราต้องกำหนดความสั้นยาวของเสียงโดยการใช้สัญลักษณ์ทางดนตรี ได้แก่
โน้ตตัวกลม |
|
โน้ตตัวขาว |
|
โน้ตตัวดำ |
|
โน้ตเขบ็ต 1 ชั้น |
หรือเมื่อมี 2 ตัวติดกันจะเขียน |
โน้ตเขบ็ต 2 ชั้น |
หรือเมื่อมี 2 ตัวติดกันจะเขียน |
และอาจจะมีถึงโน้ตเขบ็ต 3 หรือ 4 ชั้นก็ได้ และอาจจะเขียนตัวโน้ตกลับหัวก็ได้
ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสมในการเขียน นอกจากสัญลักษณ์ที่บอกความสั้นยาวของเสียงที่เล่นออกมาแล้ว ยังมีสัญลักษณ์ที่บอกถึงความสั้นยาวของเสียงที่ไม่ได้เล่น หรือ กำหนดความสั้นยาวของการหยุดเสียง
ซึ่งเรียกว่า "ตัวหยุด" โดยจะแบ่งเหมือนประเภทแรกแต่ความหมายตรงกันข้ามคือประเภทแรกบอกความสั้นยาว
ในการเล่นเสียงออกมา แต่ตัวหยุดจะบอกความสั้นยาวของการหยุดเสียงโดยใช้สัญลักษณ์ดังนี้
ตัวหยุดเทียบเท่าโน้ตตัวกลม |
|
ตัวหยุดเทียบเท่าโน้ตตัวขาว |
|
ตัวหยุดเทียบเท่าโน้ตตัวดำ |
|
ตัวหยุดเทียบเท่าโน้ตเขบ็ต 1 ชั้น |
|
ตัวหยุดเทียบเท่าโน้ตเขบ็ต 2 ชั้น |
ในการบันทึกโน้ตดนตรีจะต้องแบ่ง staff ออกเป็นส่วน ๆ เท่า ๆ กันด้วยเส้นกั้นแต่ละห้องในแนวดิ่ง
ที่เรียกว่า bar line โดยที่ผลรวมของจังหวะทั้งหมดในแต่ละห้องต้องมีความยาวหรือจังหวะเท่ากัน
และ 1 ห้อง จะเรียกว่า 1 bar
ตอนนี้เราทราบระดับเสียงของโน้ตจาก staff (C, D, E ฯลฯ) ทราบความสั้นยาวของโน้ต
จากลักษณะของตัวโน้ต ( ตัวดำ , ตัวขาว ฯลฯ) คราวนี้มาทำความรู้จักตัวที่กำหนดจังหวะให้ตัวโน้ต โดยทั่วไปอัตราส่วนของตัวโน้ตที่รู้กันรู้เพียงแค่ว่า ตัวขาวมีความยาวเป็น 1/2 ของตัวกลม
แต่เป็น 2 เท่าของตัวดำ แต่เรายังไม่รู้ว่าไอ้ความยาวเสียงนั้นมันยาวเท่าไหนถึงเรียกว่าครบ 1 จังหวะ ซึ่งสิ่งที่จะกำหนดให้เราทราบค่าดังกล่าวจากเลขกำหนดจังหวะ (Time Signature) โดยจะเขียนเป็นเหมือนตัวเลขเศษส่วน แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลขเศษส่วน เช่น
ความหมายของตัวเลขกำหนดจังหวะ
- ตัวเลขตัวบน หมายถึง จำนวนจังหวะใน 1 ห้อง( 1 bar) ว่าใน 1 ห้องดังกล่าวนั้นมีกี่จังหวะนับ
เช่น 2 หมายถึงในห้องนั้นมี 2 จังหวะนับ ถ้า 3 คือ มี 3 จังหวะนับใน 1 ห้อง
- ตัวเลขตัวล่าง หมายถึง การกำหนดว่าจะให้สัญลักษณ์โน้ตประเภทใดมีค่าเป็น 1 จังหวะ
เช่นเลข 4 จะหมายถึงให้โน้ตตัวดำ ( quarter note) มีค่าเป็น 1 จังหวะ
และมีผลให้โน้ตตัวขาว (half note) มีค่าเป็น 2 จังหวะนับ โน้ตตัวกลม whole note)
มีค่าเป็น 4 จังหวะนับ และโน้ตเขบ็ต 1 ชั้น ( eighth note) มีค่า 1/2 จังหวะนับ เป็นต้น
หรือถ้าเป็น 8 หมายถึงให้โน้ตเขบ็ต 1 ชั้น ( eighth note) มีค่าเป็น 1 จังหวะ
โน้ตตัวดำ ( quarter note) มีค่าเป็น 2 จังหวะ และมีผลให้โน้ตตัวขาว ( half note) มีค่าเป็น 4 จังหวะนับ
โน้ตตัวกลม whole note) มีค่าเป็น 8 จังหวะนับ และโน้ตเขบ็ต 2 ชั้น ( sixteenth note)
มีค่า 1/2 จังหวะนับ เป็นต้น และลองมาดูตัวอย่าง time signature ที่พบเห็นบ่อย ๆ กันนะครับ
2 |
ให้โน้ตตัวดำมีค่าเป็น 1 จังหวะ และมี 2 จังหวะใน 1 ห้อง |
4 |
|
|
|
3 |
ให้โน้ตตัวดำมีค่าเป็น 1 จังหวะ และมี 3 จังหวะใน 1 ห้อง |
4 |
|
|
|
4 |
ให้โน้ตตัวดำมีค่าเป็น 1 จังหวะ และมี 4 จังหวะใน 1 ห้อง |
4 |
|
|
|
6 |
ให้โน้ตเขบ็ต 1 ชั้นมีค่าเป็น 1 จังหวะ และมี 6 จังหวะใน 1 ห้อง |
8 |
|
|
|
12 |
ให้โน้ตเขบ็ต 1 ชั้นมีค่าเป็น 1 จังหวะ และมี 12 จังหวะใน 1 ห้อง |
8 |
ในบางกรณีทีเราต้องการให้ค่าตัวโน้ตนั้นมีจังหวะยาวขึ้นมาอีก ครึ่งหนึ่งของตัวมันเอง
เราจะใช้จุด ( dot) แทนค่าให้เพิ่มจังหวะอีกครึ่งนึงของตัวเองโดยเขียนจุดไว้ด้านข้างของตัวโน้ต
ที่ต้องการเพิ่มจังหวะ เช่น เมื่อต้องการสร้างโน้ต 3 จังหวะจากโน้ตตัวขาวที่มีค่า 2 จังหวะ
(กรณีที่ time signature เป็น 4/4 โน้ตตัวขาวมีค่า 2 จังหวะ)เราก็ประจุดโน้ตตัวขาว
ซึ่งมีผลให้มีจังหวะเพิ่มขึ้นครึ่งนึงของ 2 คือ 1 รวมเป็น 3 จังหวะ หรือเท่ากับโน้ตตัวดำ 3 ตัว
หรือเมื่อให้โน้ตตัวดำ(มีความยาว 1 จังหวะ)ประจุดก็จะหมายถึงจังหวะจะเพิ่มขึ้นอีกครึ่งนึงของ 1
คือ 1/2 รวมเป็น 1 1/2 หรือ 1 จังหวะครึ่งนั่นเองซึ่งมีค่าเท่ากับโน้ตเขบ็ต 1 ชั้น 3 ตัว
ลองดูจากการเปรียบเทียบข่างล่างนี้
สำหรับโน้ตประจุดนั้นจะใช้เพิ่มจังหวะที่อยู่ในห้องเดียวกัน แต่เมื่อต้องการให้จังหวะของโน้ตตัวนั้นยาวข้ามไปยังอีกห้องหรืออีก bar นึงนั้นเราจะใช้สัญลักษณ์ tie หรือเส้นโยงโน้ตข้ามไปอีกห้องโดยที่โน้ตตัวที่อยู่ทางท้ายเส้นโยงนั้นไม่ต้องเล่น แต่เล่นที่ตัวทางหัวเส้นโยงแล้วนับจังหวะรวมไปถึงตัวที่อยู่ท้ายเส้น ( ดูจากรูปนะครับแล้วลองฝึกนับในใจดู โดยอาจเคาะมือหรือเท้าเป็นจังหวะนับก็ได้) อย่างไรก็ตาม tied note สามารถใช้ร่วมในห้องเดียวกันก็ได้ความหมายก็เช่นเดียวกันคือเล่นโน้ตตัวแรก
แล้วนับจังหวะรวมกับโน้ตที่อยู่ท้ายเส้นโยง
หมายเหตุ ตัว C ที่เห็นอยู่ต่อจากกุญแจซอลนั้นหมายถึง time signature 4/4 ในการเขียนโน้ตมักแทนด้วย C
จากตัวอย่างข้างบนจะเห็นมี 2 จุดที่มี tied โน้ต จุดที่ 1 ในห้องแรก โน้ตตัว D
เป็นโน้ตตัวดำมีเส้นโยงไปยังโน้ต D ที่เป็นโน้ตตัวตำอีกตัว ในเชิงปฏิบัติคุณจะดีดโน้ตตัวขาวตัวแรก
เสียง B นับ 2 จังหวะ จากนั้นดีดโน้ตตัวที่สองคือตัวดำตัวแรกแต่เราจะนับจังหวะรวมกับตัวดำตัวที่สอง
(เนื่องมาจากเส้นโยง) แล้วนับรวมเป็น 2 จังหวะดังนั้นในห้องแรกคุณจะเล่นโน้ตแค่ 2 ตัวคือโน้ต B ตัวขาว
และโน้ต D ตัวดำนับ 2 จังหวะเช่นกัน
และที่จุดที่สองเป็นการโยงข้ามห้องจากห้องที่สองโน้ต C ตัวดำไปยังห้องที่สามโน้ต C ตัวขาว หลักการปฏิบัติเช่นเดียวกับแบบแรกคือเล่นโน้ต C ตัวดำแต่นับจังหวะรวมโน้ตตัวขาวไปด้วย
ดังนั้นรวมจังหวะในการเล่นโน้ต C ตัวนี้เป็น 3 จังหวะ(ตัวดำ 1 จังหวะ + ตัวขาว 2 จังหวะ = 3 จังหวะ)
ข้อสังเกตอย่างนึงคือการใช้ tied note มักจะเป็นโน้ตตัวเดียวกัน ถ้าเกิดเป็นโน้ตคนละตัว
จะไม่ใช่ tied note แต่อาจจะเป็นโน้ตแฮมเมอร์ ออนถ้าตัวท้ายเส้นโยงมีระดับเสียงสูงกว่าตัวหน้า
และอาจจะเป็นพูล ออฟ ถ้าโน้ตตัวท้ายเส้นโยงเสียงต่ำกว่าตัวหน้า เป็นต้น
ตัวอย่างการบันทึกโน้ตดนตรี
อธิบายการอ่าน
ลำดับตัวโน้ต |
ชื่อโน้ต |
จำนวนจังหวะ |
1 |
G |
1 |
2 |
C |
1 |
จังหวะรวม ( เศษห้อง) |
2 |
|
3 |
E |
1.5 |
4 |
E |
0.5 |
5 |
D |
1 |
6 |
C |
0.5 |
7 |
D |
0.5 |
จังหวะรวมห้อง 1 |
4 |
|
8 |
E |
1.5 |
9 |
E |
0.5 |
10 |
D |
1 |
11 |
C |
1 |
จังหวะรวมห้อง 2 |
4 |
|
12 |
D |
1.5 |
13 |
E |
0.5 |
14 |
D |
1 |
15 |
C |
1 |
จังหวะรวมห้อง 3 |
4 |
|
16 |
A |
3 |
17 |
A |
0.5 |
18 |
C |
0.5 |
จังหวะรวมห้อง 4 |
4 |
|
19 |
D |
1.5 |
20 |
E |
0.5 |
21 |
D |
1 |
22 |
C |
0.5 |
23 |
A |
0.5 |
จังหวะรวมห้อง 5 |
4 |
|
24 |
G |
1.5 |
25 |
G |
0.5 |
26 |
A |
1 |
27 |
C |
1 |
จังหวะรวมห้อง 6 |
4 |
|
29 |
C |
4 |
จังหวะรวมห้อง 7 |
4 |
จากตารางจะมีเพียงห้องแรก ซึ่งเรียกว่าเศษห้องจะมีไม่ครบ 4 จังหวะแต่นอกนั้น
ทุกห้องจะรวมได้ 4 จังหวะหมด ตาม time signature ที่เป็นตัว C นั่นแหละครับหมายถึง 4/4
ซึ่งทำให้โน้ตตัวดำมีค่าเป็น 1 จังหวะและทั้งห้อง หรือ 1 bar จะมี 4 จังหวะ
เครื่องหมาย ชาร์ฟ และ แฟล็ท ( Sharp & Flat)
จากที่ได้รู้จักเสียงดนตรีทั้ง 7 เสียงนั้นถือเป็นระดับเสียงตามธรรมชาติของมนุษย์
ซึ่งระดับเสียงจะห่างกัน 1 เสียงเต็ม (หมายถึงระดับความสูงต่ำของเสียง) แต่จะมี 2 คู่
ที่ต่างกันครึ่งเสียง คือ ระหว่าง E, F และ B, C ไม่ใช่ครึ่งจังหวะ
ในการแต่งเพลงหรือดนตรีสากลมักจะมีเสียงที่เป็นครึ่ง ๆ คือไม่ใช่เสียงเต็มแบบธรรมชาติซึ่งไม่มีกำหนดในสัญลักษณ์ดนตรีสากล จึงต้องมีการสร้างสัญลักษณ์เพื่อทำให้โน้ตนั้นมีระดับเสียงสูงขึ้นหรือต่ำลงครึ่งเสียง
และสัญลักษณ์ดังกล่าวก็คือเครื่องหมายชาร์ฟ (#) และแฟล็ท ( b) นั่นเอง
- เครื่องหมาย ชาร์ฟ (Sharp ; #) เมื่อปรากฎที่โน้ตตัวใดจะทำให้โน้ตนั้น
มีระดับเสียงสูงขึ้นครึ่งเสียงเช่น C# อ่านว่า ซี-ชาร์ฟ จะมีระดับเสียงสูงกว่า C อยู่ครึ่งเสียง
- เครื่องหมาย แฟล็ท (Flat ; b) ตรงกันข้ามกับ # เมื่อปรากฎที่โน้ตตัวใดจะทำให้โน้ตนั้นมีระดับเสียงต่ำลงครึ่งเสียงเช่น Eb อ่านว่า อี-แฟล็ท
จะมีระดับเสียงต่ำกว่า E อยู่ครึ่งเสียง
ดังนั้นจะต้องมีโน้ตที่มีระดับเสียงซ้ำกันอันได้แก่ C# = Db , D# = Eb , F# = Gb ,
G# = Ab และ A# = Bb นอกจากนี้ยังมี Cb = B , B# = C , E# = F และ Fb = E
ซึ่งแบบหลังมักไม่นิยมเขียนในรูป # , b
เมื่อมีการกำหนดเครื่องหมาย # หรือ b ลงบน staff ที่ในช่องระหว่างเส้น หรือบนเส้นใดก็ตาม
(ศึกษาจากเรื่อง scale ได้) จะมีผลบังคับให้ตัวโน้ตทุก ๆ ตัวที่อยู่บนเส้นหรือในช่องนั้น ๆ
ถูกบังคับด้วย # หรือ b เช่นกัน นอกจากนี้ยังรวมถึงโน้ตที่มีเสียงเดียวกันทั้งหมด
ไม่ว่าจะอยู่ที่ช่องหรือบนเส้นใดของ staff ดังเช่น เมื่อมีการติดเครื่องหมาย # ไว้บนเส้นบนสุดของ staff
ซึ่งเส้นนี้มีเสียง F อยู่ เมื่อมี # อยู่บนเส้นนี้จะมีผลให้โน้ตทุกตัวที่อยู่บนเส้นนี้มีค่าเป็น F# ทั้งหมด
โดยที่ไม่ต้องเขียน # ไว้ที่โน้ตทุก ๆ ตัว นอกจากนี้โน้ตที่มีเสียง F ทั้งหมดเช่นในช่องล่างสุด
(ระหว่างเส้นที่ 1 กับ 2) ซึ่งมีเสียง F เช่นกัน ก็จะกลายเป็น F# ไปโดยปริยาย สำหรับเครื่องหมาย b ก็เช่นเดียวกันแต่จะทำให้ค่าของโน้ตลดลงครึ่งเสียง
แต่ในการแต่งเพลงบางทีอาจต้องการปรับกลับมาให้เป็นเสียงเต็ม คือต้องการถอดเครื่องหมาย # , b ออกชั่วคราวเช่นแค่ 1 หรือ 2 ห้องหรือเพียงแค่โน้ตตัวเดียวที่ต้องการปลดเจ้า #, b ออก ดังนั้นเราจึงมีเครื่องหมายอีกตัวที่ใช้ในการปลดเจ้า #, b ออก
- เครื่องหมายเนเจอรัล ( naturals ; ) เครื่องหมายนี้จะตรงกันข้ามกับ #, b คือ เมื่อปรากฎที่โน้ตตัวใดจะทำให้โน้ตนั้นมีระดับเสียงเป็นปกติตามสัญลักษณ์ของมัน
คือใช้ในการถอดเครื่องหมาย #, b นั่นเอง เช่นจากตัวอย่างที่แล้ว staff
เส้นบนสุดติด # อยู่ดังนั้นเสียง F จึงกลายเป็น F# แต่ที่โน้ตตัวหนึ่งเราต้องการให้เป็นเสียง F เฉย ๆ
เราก็จะเขียนเครื่องหมาย naturals ไว้ที่โน้ตตัวดังกล่าว ซึ่งมีผลให้เฉพาะโน้ตตัวนั้นที่กลายเป็น F
หากต้องการยกเลิกเครื่องหมาย #, b ทั้งห้องนั้นก็จะเขียน naturals ไว้บนเส้นนั้นเลย
เช่นที่ห้องหนึ่งต้องการยกเลิก F# ทั้งหมด ผมก็จะใส่เครื่องหมาย naturals ไว้บน staff เส้นบนสุดในห้องนั้น
ตัวอย่างที่ 1
ตัวอย่างแรกเป็นสเกลทาง # โดยมี 1 # คือ F# ซึ่งอยู่ในสเกล G major และ time signature เป็น 4/4
( หรือเครื่องหมาย C) เรามาดูโน้ตที่น่าสนใจกัน
โน้ตตัวที่ 1 ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง F แต่เนื่องจากใน staff นี้ติด 1 # คือ F#
ดังนั้นโน้ตตัว F ทุกตัวต้องติด # หมดจึงมีผลให้โน้ตตัวที่ 1 ติด # ไปด้วยเป็น F#
โน้ตตัวที่ 2 ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง G แต่ติด # จึงกลายเป็น G#
โน้ตตัวที่ 3 ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง F# ( เหตุผลเดียวกับโน้ตตัวที่ 1) แต่ติด จึงกลายเป็น F ธรรมดา
โน้ตตัวที่ 4 ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง F# ( เหตุผลเดียวกับโน้ตตัวที่ 1) แม้จะมี ในห้องที่สอง แต่มันจะมีผลเฉพาะในห้องนั้นเมื่อขึ้นห้องใหม่แล้วก็จะเหมือนเดิม
โน้ตตัวที่ 5 ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง G แต่ติด # จึงกลายเป็น G#
โน้ตตัวที่ 6 ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง F# ( เหตุผลเดียวกับโน้ตตัวที่ 1) แม้จะมี ในห้องที่สอง แต่มันจะมีผลเฉพาะในห้องนั้นเมื่อขึ้นห้องใหม่แล้วก็จะเหมือนเดิมเหมือนตัวที่ 4
โน้ตตัวที่ 7 จะมีผลเป็น G# เนื่องมาจากโน้ตตัวที่ 5 แต่ติด จึงกลายเป็น G ธรรมดา
โน้ตตัวที่ 8 ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง F# เนื่องมาจากโน้ตตัวที่ 4
ตัวอย่างที่ 2
ตัวอย่างที่ 2 เป็นสเกลทาง b โดยมี 1 b คือ Bb ซึ่งอยู่ในสเกล F major
โน้ตตัวที่ 1 ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง B แต่เนื่องจากใน staff นี้ติด 1 b คือ Bb
ดังนั้นโน้ตตัว B ทุกตัวต้องติด b หมดจึงมีผลให้โน้ตตัวที่ 1 ติด b ไปด้วยเป็น Bb
โน้ตตัวที่ 2 เนื่องจากโน้ตตัวที่ 1 จะมีเสียง Bb แต่เนื่องจากติด จึงมีผลให้กลายเป็น B ธรรมดา
โน้ตตัวที่ 3 ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง D แต่ติด b จึงกลายเป็น Db
โน้ตตัวที่ 4 ยังคงเป็น Bb แม้ว่าโน้ตตัวที่ 2 จะติด natural ก็ตาม แต่เมื่อต่าง octave
หรือคนละขั้นเสียง natural จะไม่มีผล
โน้ตตัวที่ 5 ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง E แต่ติด b จึงกลายเป็น Eb
โน้ตตัวที่ 6 ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง Bb ( เหตุผลเดียวกับโน้ตตัวที่ 1) แม้จะมี ในห้องที่สอง แต่มันจะมีผลเฉพาะในห้องนั้นเมื่อขึ้นห้องใหม่แล้วก็จะเหมือนเดิม
โน้ตตัวที่ 7 จะมีเสียง Bb เหตุผลเดียวกับโน้ตตัวที่ 6
โน้ตตัวที่ 8 ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง G แต่ติด b จึงกลายเป็น Gb
จากทั้ง 2 ตัวอย่างได้แสดงทั้งระบบ notation และ tablature เพื่อให้เห็นว่าโน้ตแต่ละตัวนั้นอยู่บนตำแหน่งใดบนฟิงเกอร์บอร์ดเพื่อให้เห็นความแตกต่างได้ชัดเจนขึ้น สำหรับผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกับระบบ tab โปรดดูรายละเอียดในหัวข้อเรื่องการอ่าน tablature
อ้างอิงจาก http://www.phooben2.com