ดนตรีพื้นบ้านอีสานเหนือ

ดนตรีพื้นบ้านอีสานเหนือ

          ลักษณะดนตรีอีสานเหนือ ดนตรีที่นำมาใช้เป็นไปในรูปแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
            1. บรรเลงประกอบหมอลำ คำว่า “ ลำ ” หมายถึง ขับลำนำ หรือขับเป็นลีลาการร้องหรือการเล่าเรื่องที่ร้องกรองเป็นกาพย์หรือกลอนพื้นบ้านบรรเลงล้วน บางโอกาสดนตรีบรรเลงทำนองเพลงล้วน ๆ เพื่อเป็นนันทนาการแก่ผู้ฟัง
เพลงที่ใช้บรรเลงก็เป็นทางประกอบหมอลำหรือทางอื่น ๆ ที่ใช้เป็นเพลงบรรเลงโดยเฉพาะ

            2. บรรเลงประกอบการฟ้อนรำ นาฎศิลป์พื้นบ้านอีสานที่เน้นการเคลื่อนไหวเท้าตามจังหวะ ส่วนอื่นๆ ของร่างกายก็เคลื่อนไหวแต่ไม่ค่อยพิธีพิถัน

ดนตรีพื้นบ้านอีสานมีลักษณะเฉพาะตัวเอง มีความแตกต่างไปจากดนตรีพื้นบ้านอื่นๆ องค์ประกอบที่สำคัญของอีสาน
มี 3 ประการ คือ
           1. จังหวะ จังหวะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก มีตั้งแต่ประเภทช้า ปานกลางและเร็ว
จังหวะข้าใช้ในเพลงประเภทชวนฝัน เศร้า หรือตอนอารัมภบทของเพลงแทบทุกเพลง
           2. ทำนอง ซึ่งชาวบ้านเรียกทำนองว่า “ ลาย ” และบ่อยครั้งใช้ลายแทนคำว่าเพลงทำนองเพลงพื้นบ้านของอีสานเหนือมีวิวัฒนการมาจากสำเนียงพูด
ของชาวอีสานเหนือ

          โดยทั่วไป ทำนองของเพลงแต่ละเพลงแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังต่อไปนี้

               2.1 ทำนองเกริ่น เป็นทำนองที่บรรเลงขึ้นต้นเหมือนกับอารัมภบทในการพูดหรือเขียน
               2.2 ทำนองหลัก คือทำนองที่เป็นหัวใจของเพลง ผู้ฟังที่คุ้นเคยกับเพลงพื้นบ้านสามารถบอกชื่อเพลง หรือทาง หรือลายได้จากทำนองหลักนี้เอง
               2.3 ทำนองย่อย คือทำนองที่ใช้สอดแทรกสลับกันกับทำนองหลัก เนื่องจากทำนองหลักสั้น การบรรเลงซ้ำกลับไปกลับมาติดต่อกันนาน ๆ ทำให้เพลงหมดความไพเราะ การสอดแทรกทำนองย่อยให้กลมกลืนกับทำนองหลักจึงมีความสำคัญมาก

          3. การประสานเสียง การประสานเสียงในวงดนตรีเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลัง ก่อนนั้นเป็นบรรเลงหรือร้องเป็นไปลักษณะทำนองเดี่ยว

Related Articles

Free Joomla templates by Ltheme