เครื่องดนตรีประเภทเป่า

ครื่องดนตรีประเภทเป่า

แคน

ประเภทของแคน - การพัฒนาบทเรียนบนเว็บ.

          เป็นเครื่องเป่าที่รู้จักกันแพร่หลายและถือว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เป็นสัญลักษณ์ของชาวอีสาน แคนทำด้วยไม้ไผ่
กู่แคนหรือไม้ซาง เรียกว่าไม้เฮี้ยหรือไม้เฮื้อ เป็นพืชตระกูลไม้ไผ่ใช้เป็นคู่ ๆ ประกอบกันเข้า
โดยอาศัยเต้าแคนเป็นแกน แคนมีหลายชนิด เรียกชื่อตามจำนวนคู่ของไม้ไผ่ที่นำมาประกอบกัน
ได้แก่ แคนสาม แคนสี่ แคนห้า แคนหก แคนเจ็ด แคนแปด แคนเก้า แคนจะเจาะรูนับทุกลำ ลูกแคนตัดให้ต่อลดหลั่นลงมาเพื่อหาเสียงให้ได้ระดับสูงต่ำ การเป่าแคนจะเป่าเป็นทำนองเรียกว่า ลายแคน นิยมใช้เล่นกับหมอลำ หมอลำกลอน เป็นต้น
การเทียบเสียง แคนเป็นเครื่องดนตรีที่มี 7 เสียง (ระบบไดอะโตนิค) แต่นิยมเล่นเพียง 5 เสียง (เพนอะโตนิค)

โหวด

โหวด - การพัฒนาบทเรียนบนเว็บ.

          เป็นเครื่องเป่าที่ทำด้วยลูกแคนแต่ไม่มีลิ้น โดยเอากู่แคนประมาณ 7-12 ชิ้น มาตัดให้ได้ขนาดลดหลั่นกันให้ปลายทั้งสองเปิดปลายด้านล่างใช้ขี้สูตรปิดให้สนิท ส่วนปลายบนปิดไว้สำหรับรูเป่า โดยนำกู่แคนมารวมกันเข้ากับแกนไม้ไผ่ที่อยู่ตรงกลาง จัดลูกแคนล้อมแกนไม้ไผ่ในลักษณะทรงกลม ตรงหัวโหวดใช้ขี้สูตรก่อให้เป็นรูปกรวยแหลมเพื่อใช้เป็นฐานสำหรับจรดฝีปากด้านล่าง
และให้โหวดหมุนได้รอบทิศเวลาเป่า
โหวดเป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่งที่ไม่มีลิ้น เกิดจากกระแสลมที่เป่าผ่านไม้รวกหรือไม้เฮี้ย (ไม้กู่แคน) หรือไม้ไผ่ ด้านรูเปิดของตัวโหมดทำด้วยไม้รวกขนาดเล็ก สั้น ยาว เรียงลำดับตามความสูงต่ำของเสียง ติดรอบกระบอกไม้ไผ่ที่ใช้เป็นแกนกลางติดไว้ด้วยขี้สูตรมีจำนวน 6-9 เลา ความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร เวลาเป่าจะหมุนไปรอบ ๆ ตามเสียงที่ต้องการแต่เดิมโหวดใช้ผูกเชือก ผู้เล่นถือปลายเชือกแล้วเหวี่ยงขึ้นไปบนท้องฟ้าทำให้เกิดเสียงโหยหวน
ภายหลังจึงพัฒนาไปเป็นเครื่องดนตรีการเทียบเสียง ระบบ 5 เสียง

ปี่ผู้ไท

ปี่ภูไท – ดนตรีพื้นเมืองภาคอีสาน

          เป็นปี่ที่ทำจากไม้กู่แคนโดยเอาไม้กู่แคนมาปล้องหนึ่งตัดโดยเปิดปลายข้างหนึ่ง
และไปยังปลายข้ออีกข้างหนึ่งตรงปลาย ด้านที่บั้งข้อเจาะช่องสำหรับใส่ลิ้นที่ทำด้วยทองเหลือง
เจาะรูเยื่อ 1 รู และนับรู 5 รู ปรับเสียงให้เท่ากับเสียงแคน

Related Articles

Free Joomla templates by Ltheme